บุญบั้งไฟ

ประเพณีบุญบั้งไฟ
	บุญบั้งไฟเป็นประเพณีไทยประจำปีของชาวภาคอีสาน ที่สืบเนื่องมา
จากพิธีการขอฝนของพญาแถน หรือเทวดา โดยจัดพิธีจุดบั้งไฟเพื่อให้ฝนตกต้อง
ตามฤดูการเพราเปลูกเมื่อหลังเทศการลสงกรานต์ราวเพือน ของทุกปีหากแต่ชาว
ยโสธร โดยเฉพาะชาวคุ้มบ้านต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมื่อร่วมแรงร่วมใจทำให้ประเพ
ณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และเป็นประเพณีที่สำคัญของประเทศ
เมื่อถึงเดือนหกเข้าฤดูทำนา ประชาชนจะจุดบั้งไฟเพื่อขอฝน และจะ ได้เริ่มต้นฤดูการทำนากันได้ "บั้ง" แปลว่า "ไม้กระบอก" บั้งไฟเป็นดอกไม้ เพลิง ทำจากระบอกไม้ไผ่ที่อัดดินปืนเพื่อการจุดระเบิดให้พุ่งขึ้นไปในอากาศ มีขนาดที่นิยมอยู่ 3 ขนาดคือ - บั้งไฟธรรมดา บรรจุดินปืนไม่เกิน 12 กิโลกรัม - บั้งไฟธรรมดา บรรจุดินปืนเกิน 12 กิโลกรัม - บั้งไฟแสน บรรจุดินปืนถึงขนาด 120 กิโลกรัม ถ้าบั้งไฟขึ้นสูงก็แปลว่า ฝนฟ้า ข้าวปลา อาหารจะอุดมสมบูรณ์ดีก็จะ พากันเลี้ยงฉลองกันในหมู่ผู้ที่ไม่ร่วมงาน ถ้าบั้งไฟแตกหรือไม่ขึ้นหมายความว่าฝน ฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเป็นต้น ในวันแรกของเทศกาลหรือชาวบ้านเรียกกันว่า "วันโฮม" จะมีการนำ เอาบั้งไฟออกมาแห่แหนตามเมืองกันก่อน จนกระทั่งวันที่ 2 ถึงจะนำบั้งไฟไปจึด กันกลางทุ่งนา โดยเฉพาะที่จุดบั้งไฟต้องทำเป็นพะองพาดขึ้นไปบนต้นไม้ใหญ่สูง ประมาณ 30 เมต แล้วจุดชนวนให้ดินปืนเกิดการระเบิด ปัจจุบันได้มีการประกวด ความสวยงามและความสูงของบั้งไฟที่จุดขึ้นไปบนท้องฟ้า แลกหากบั้งไฟอันไหน ไม่ยอมพุ่งขึ้นเพราะดินปืนด้านเจ้าของบั้งไฟก็จะถูกจับโยนลงในโคลนตม กลาง ทุ่งนาเป็นการทำโทษ ประเพณีการเล่นบั้งไฟที่นิยมกันมากเวลานี้คือ ยโสธร


แหล่งอ้างอิง : http://user.school.net.th/~phiampai/thai/

โดย : นางสาว อัญชลี สวัสดิรักษา, สถาบันราชภัฏสงขลา, วันที่ 3 พฤศจิกายน 2545