งานประเพณีชลบุรี
คลิกเพื่อเพิ่มข้อความ

งานประจำจังหวัดชลบุรี
เป็นงานประจำปีที่ชาวจังหวัดชลบุรีได้ร่วมกันจัดติดต่อกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 กิจกรรมของงานได้รวมงาน
"นมัสการพระพุทธสิหิงค์ งาน สงกรานต์ และงานกาชาด" ไว้ด้วยกัน โดยมีกำหนดจัดงานในเดือนเมษายน
กิจกรรมของงานประกอบไปด้วย ขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ พิธีรดน้ำดำหัว ผู้ใหญ่ การละเล่นพื้นบ้าน
การแสดงโขนของกรมศิลปากรและการแสดง ทางวัฒนธรรม นิทรรศการและการออกร้าน ทั้งนี้ โดย
มีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
ตลอดจนปลูกฝังคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมไว้สืบไป

งานประเพณีกองข้าว
เป็นประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองชลบุรี ปัจจุบันมีที่อำเภอศรีราชาที่ยังคง รักษาประเพณีนี้อยู่ โดยจัด
ให้มีขึ้นเป็นประจำทุกวันที่ 19-21 เดือนเมษายนสถานที่จัดงานอยู่บริเวณหน้าสำนักงานเทศบาล ตำบลศรีราชา
และที่บริเวณเกาะลอยศรีราชา กิจกรรมของงานจะประกอบไปด้วยการจัด ขบวนแห่ที่นำโดยกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่
และหน่วยงานต่างๆ ที่แต่งกายด้วยชุด ไทยประจำบ้านเข้าร่วมขบวน พิธีบวงสรวงวิญญาณบรรพบุรุษ
การสาธิต ประเพณีกองข้าว การละเล่นพื้นบ้าน การสาธิตและจำหน่ายขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง

งานประเพณีก่อพระทรายวันไหล
เป็นงานประเพณีที่ชาวตำบลแสนสุข ได้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ เดิม เรียกว่า "งานทำบุญวันไหล"
คือ การที่ประชาชนในหมู่บ้านต่างๆได้มาทำ บุญร่วมกันเนื่องในเทศกาลวันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ของไทย โดยการ
นิมนต์พระจากวัดที่อยู่ในเขตตำบลแสนสุขมาประกอบพิธีสงฆ์ มีการทำบุญ ตักบาตร สรงน้ำ หลังจากนั้นก็เป็นการก่อ
พระเจดีย์ทราย เล่นสาดน้ำ มีการ ละเล่นและกีฬาพื้นบ้าน

งานประเพณีวิ่งควาย
เป็นประเพณีเก่าแก่ของจังหวัดชลบุรี จัดขึ้นในเดือนตุลาคม ที่อำเภอชลบุรี อำเภอบ้านบึงและอำเภอหนองใหญ่
ในวันงานชาวไร่ ชาวนาจะตกแต่ง ควายของตนอย่างสวยงามด้วยผ้าแพรสีต่างๆ และนำควายมารวมกันที่
บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดเพื่อแข่งขันวิ่งควายประกวดสุขภาพ ควาย ประกวดการตกแต่งควาย
ประกวดนางงาม "น้องนางบ้านนา"

งานพัทยามาราธอน
จัดขึ้นที่บริเวณเมืองพัทยา ประมาณเดือนกรกฎาคม เพื่อเป็นการส่งเสริม การท่องเที่ยวนอกฤดูท่องเที่ยว
มีนักวิ่งจากหลายประเทศมาร่วมงานโดย ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน


ที่มา : สังคมศึกษา ม.4

โดย : นาย สุริยะ รุ่งทวีประริโยศา, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 15 พฤศจิกายน 2545