อำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศที่มาจากปวงชนชาวไทย แยกได้ 3ฝ่าย คือ

1อำนาจนิติบัญญัติ  คืออำนาจที่พระมหากษัตริย์ทรงใช่ทางรัฐสภา  หน้าที่สำคัญ  คือ  การตราพระราชบัญญํติ ไว้ดังนี้

1.1รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราชฎรและวุฒิสภา(มาตรา90)

1.2ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา(มาตรา92)

1.3ร่างพระราชบัญญัติิหรือร่างพระบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้วให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติจากรัฐสภา เพื่อ พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้บังคับเป็นกฎหมายได้(มาตรา93)

1.4สมาชิกสภาผู้แทนราชฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน500คน  มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ100คนและมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 400คน(มาตรา98)

2อำนาจบริหาร คือ อำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งในกฎหมายรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 มาตรา3พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจึงทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ให้ไว้ต่อรัฐสภา

3อำนาจตุลาการ คือ อำนาจที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ผ่านทางศาล การใช้อำนาจตุลาการจะใช้ในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์



แหล่งอ้างอิง : เอกสารประกอบการเรียน วิชา สังคมศึกษา

โดย : นางสาว นางสาวสุวดี พรประดับวงศ์, โรงเรียนพนัสพิทยาคาร, วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546