NECTEC
NSTDA
Home
Computer
Program
Internet & Web
Graphics
CAI
Multimedia
Electrical Power
General Education
Special Education
Links
Webmaster
Distance Learning

การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม: การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยี
โดย ... ท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย
รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

          ปัจจุบันทุกประเทศในโลกต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมากกับเรื่อง "การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" ว่าเป็นปัจจัยสำคัญของความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ประเทศไทยนับตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ ที่พระราชทานความสำคัญต่อการศึกษา วิทยาการสมัยใหม่ พอถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงส่งพระราชโอรสหลายพระองค์ไปศึกษาต่างประเทศ และทรงจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นหลายแห่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระราชทานพระบรมราโชวาททางด้านการศึกษาที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ทรงเน้นความสำคัญในเรื่อง การให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกหมู่ทุกเหล่าโดยไม่มีข้อจำกัด การขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ตลอดจนพระบรมราโชบายการศึกษาตลอดชีพนั้นสัมฤทธิผล จากการที่ได้พระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อ ๔ ปีที่ผ่านมา

การศึกษาครบวงจร

          การศึกษาครบวงจร หมายถึง การศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างเบ็ดเสร็จในสถานที่ และในช่วงเวลาหนึ่ง โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนหนึ่งที่จัดการศึกษาในลักษณะครบถ้วนสมบูรณ์อยู่ในตัวเอง โรงเรียนวังไกลกังวล จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดีนธร รัชกาลที่ ๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอาคารหลังหนึ่งในบริเวณวังไกลกังวล ให้เป็นสถานที่เรียนสำหรับบุตรหลานของเจ้าหน้าที่วังไกลกังวล และชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณนั้น

          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราโชบายเน้นการขยายโอกาสทางการศึกษา ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องจากชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา เมื่อนักเรียนเรียนจบแล้ว ก็สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับสูงได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับเด็กจากครอบครัวที่ขาดแคลนไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ให้เข้าศึกษาเล่าเรียน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และให้เป็นไปตามพระบรมราโชบายที่ว่า

          "ให้การศึกษาและอบรมบ่มนิสัยนักเรียนให้เป็นคนดี มีเมตตา กรุณา ให้นักเรียนทุกคนตั้งใจเรียนจนสุดความสามารถ เมื่อเรียนจบถึงระดับใดแล้ว ให้มีความสามารถนำวิชาความรู้ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนได้"

          เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการจัดการศึกษาให้ครบวงจร จึงได้มีการจัดสร้างสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตวังไกลกังวล สำหรับผู้เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนวังไกลกังวล เข้าศึกษาต่อระดับอนุปริญญาใช้เวลาเรียน ๒ ปี หรือระดับปริญญาตรี ๔ ปี รวมทั้งได้จัดตั้งวิทยาลัยการอาชีพ วังไกลกังวล สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนวิชาชีพระยะสั้นๆ ซึ่งปัจจุบันอำนวยประโยชน์แก่สมาชิกครอบครัวข้าราชการในท้องถิ่น ที่ได้เรียนวิชาชีพเพื่อเป็นอาชีพเสริม และครูผู้ที่ต้องการความรู้เพิ่มเติม

          นี่คือที่มาของสถานบันต่างๆ ที่ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพ่วงท้ายชื่อของสถาบันด้วยคำว่า "วังไกลกังวล" เพราะสถาบันเหล่านี้มีตึกอำนวยการตั้งอยู่ในเขตวังไกลกังวล และเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาครบวงจร ตามพระราชดำริ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เศรษฐกิจพอเพียง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

          ในปีพุทธศักราช ๑๕๐๕ เมื่อพายุโซนร้อนแฮเรียตพัดผ่านภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า ๑,๐๐๐ ราย ...... ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย ....... และหลังจากวาตภัยในครั้งนั้น ก็มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเงินส่วนที่เหลือที่ประชาชนร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล เป็นทุนประเดิมก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อทรงเล็งเห็นว่าเยาวชนที่ประสบภัยจำนวนมาก ต้องกลายเป็นเด็กกำพร้าที่ต้องช่วยเหลือตนเองตามลำพัง และโรงเรียนจำนวนมากได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายไป ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเงินซ่อมแซมโรงเรียนที่เสียหายทั้ง ๑๒ แห่ง ซึ่งต่อมากระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอพระราชทานชื่อให้แก่โรงเรียนที่ได้รับพระราชทานเงินในการซ่อมแซมอาคาร หรือสร้างขึ้นใหม่เหล่านี้ว่า "ราชประชานุเคราะห์"

.......

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้นักเรียนของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ มีความขยันมั่นเพียร ความประพฤติเรียบร้อย เป็นเด็กดี มีเมตตากรุณา รู้จักมัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารี และพึ่งตนเองได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีพระราชดำริ ให้จัดการเรียนากรสอนด้านเกษตรกรรมขึ้นในโรงเรียน โดยอาศัยกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำแปลงปลูกผักสวนครัว และการเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้นอกจากนักเรียนจะยังสามารถขายผลผลิตที่ได้ให้แก่โรงเรียนเพื่อนำไปประกอบอาหาร และเป็นการเสริมรายได้ให้แก่ครอบครัวของตนเองอีกทางหนึ่งแล้ว ยังสามารถที่จะนำเอาทักษะและความรู้ที่ได้ศึกษา และปฏิบัติจริงไปประกอบอาชีพในอนาคตอีกด้วย และนี่เองคือปฐมบทของพระบรมราโชบายเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง"

.......

การเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยี

          มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพพระเจ้าอยู่หัว ทรงครอบสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี (กาญจนภิเษก) สถานีรับส่งวิทยุโทรทัศน์ที่โรงเรียนวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แผร่ภาพออกอากาศผ่านดาวเทียมรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาหลายสาขาวิชา จากระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ........ และวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล ก็รอบรับในเรื่องหลักสูตรวิชาชีพแขนงต่างๆ อาทิ คหกรรมศาสตร์ ช่างยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น นอกจากนี้ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตวังไกลกังวล ก็เปิดรับนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอีกด้วย กล่าวโดยสรุป สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นได้ร่วมกันทำหน้าที่ให้บริการทางการศึกษาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ...

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ๕๐ ล้านบาท ที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อเป็นทุนประเดิมก่อตั้งเป็นมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมขึ้น และหลังจากนั้นองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลอย่างพร้อมเพียง นอกจากนี้ยังพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้โรงเรียนวังไกลกังวล ร่วมกับมูลนิธิฯ ถ่ายทอดสดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาแพร่ภาพทางโทรทัศน์ทั้ง ๖ ช่อง นับเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน ไม่ว่าร่ำรวย หรือยากจนในทุกภูมิภาคของประเทศได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน อีกทั้งเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูผู้สอน โดยเฉพาะในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนชนบทห่างไกลอีกด้วย ทั้งนี้การติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนวังไกลกังวล กับโรงเรียนปลายทาง (Distance Schools) ในพื้นที่ต่างๆ จะมีลักษณะของการโต้ตอบ หรือเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (Interactive Communication) ในกรณีของการสอบถามปัญหาหรือคำถามต่างๆ .............

การเรียนรู้ตลอดชีวิต : พร้อมคุณภาพและบริการ

......

          การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มุ่งผลด้านขยายโอกาสในเชิงปริมาณ มีผลให้สถานศึกษาต่างๆ ที่จัดการศึกษาในระบบชั้นเรียน มีโอกาสขยายการดำเนินงานได้ในวงกว้างมากขึ้น สามารถเข้าถึงนักเรียน รวมทั้งประชาชนผู้สนใจใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

          ในด้านคุณภาพนั้น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ก็ได้มีส่วนช่วยทำให้นักเรียนในชนบททีห่างไกล มีโอกาสได้รับความรู้ และศึกษาเล่าเรียนเท่าเทียมกับนักเรียนในเมือง รวมทั้งยังส่งเสริมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอีกด้วย

พระราชทานการศึกษาทางไกลของประเทศไทยสู่อนาคต

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๒ ณ ศาลาดุสิดาลัย ใจความพระราชดำรัชตอนหนึ่ง ได้พระราชทานเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมว่า

          "...ส่วนที่ได้กล่าวถึงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมนั้น ก็เป็นโครงการที่มาหนุนมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เหมือนกัน เพราะว่าถ้าประชาชนมีความรู้ ก็หมายความว่าเด็กได้สามารถที่จะเรียนวิชาการต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านภาษาได้ดี ก็สามารถที่จะดำรงชีวิตได้ ได้ดี ได้ดีมาก นอกจากนั้นโรงเรียนที่รายการของการศึกษาทางดาวเทียมนี้ ก็ได้พยายามที่จะให้นักเรียนมีความรู้ทางจริยธรรมด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ก็บ่นกันว่า เยาวชนมักจะไม่ค่อยมีจริยธรรม ไม่ค่อยมีความดี ความดีไม่มี เลยทำให้เกิดความเดือดร้อนทั่วประเทศ เกิดปัญหาต่างๆ เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เกี่ยวข้องกับการรุนแรง ความรุนแรงต่างๆ ฉะนั้นการสอนของโครงการการศึกษาทางดาวเทียมนั้น ก็จะทำให้ราษฎรของประเทศชาติ มีคุณสมบัติ มีคุณภาพดีขึ้น ..."

....