NECTEC
NSTDA
Home
Computer
Program
Internet & Web
Graphics
CAI
Multimedia
Electrical Power
General Education
Special Education
Links
Webmaster
CAI - CBT - WBT - E-Learning

การพัฒนาเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์ทางการศึกษา

การออกแบบ

เนื่องด้วยเว็บไซต์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ที่เรียกว่า Homepage และส่วนที่เป็นเนื้อหา (Web page) หลายๆ หน้ารวมกัน เรียกว่า Web Pages

Homepage เป็นหน้าเว็บหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งมีต้องมีจุดเด่นมาก เพื่อดึงดูดให้ผู้ชมเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์และเกิดความประทับใจ อยากเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เรื่อยๆ

เกณฑ์การประเมินสำหรับ Homepage

  • แนวคิดในการออกแบบ
    • สำหรับเด็กนักเรียน
    • สำหรับนักศึกษา
    • สำหรับบุคคลทั่วไป
    • บริการฟรี
    • เก็บค่าลงทะเบียน
  • องค์ประกอบ
    • ชื่อเรียกเว็บไซต์สอดคล้องเหมาะสมกับเนื้อหา
    • ชื่อหัวข้อเรื่องแต่ละเรื่องเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา
    • มีการสมัครเป็นสมาชิกเข้าไป(Member Login)
    • มีกระดานข่าว(web board) (เพื่อเสนอเนื้อหาปรับปรุงที่น่าสนใจ รวมถึงการ ถามปัญหา การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ)
    • มีระบบ Web Counter Summary นับจำนวนสมาชิกเพื่อประเมินความนิยม
    • มีข้อแนะนำในการใช้เว็บไซต์
    • มีการออกแบบหน้าโฮมเพจที่โดดเด่นแปลกใหม่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองแสดง ถึงความคิดสร้างสรรค์ (ไม่ซ้ำซากกับหน้าโฮมเพจอื่นๆ)
    • มีการออกแบบที่สอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ดึงดูดความสนใจ (เช่น มีภาพการ์ตูนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก)
    • ไม่ใช้ภาพ ข้อความ เนื้อหาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์
  • การประเมินด้านตัวอักษรควรมีดังนี้
    • ชนิดตัวอักษร (Font) ต้องเป็นมาตรฐาน (ไม่ต้องลง Font เพิ่มเติมในบางเครื่อง)
    • ชนิดตัวอักษรไม่ควรหลากหลายเกินกว่า 3 ชนิดใน 1 หน้าเว็บเพจ
    • ชนิดตัวอักษรต้องเป็นแบบที่อ่านง่ายชัดเจน
    • รูปแบบตัวอักษร(ตัวเอียง, ขีดเส้นใต้, หนา,บาง) แตกต่างเหมาะสม (เช่นถ้าเป็น หัวข้อใช้ตัวหนา ตัวบางใช้สำหรับเนื้อหาปกติ )
    • ขนาดตัวอักษรต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (เช่นเด็กเล็กใช้ขนาดตัวอักษร ใหญ่ ระดับมัธยม อุดมศึกษา ตัวอักษรขนาดเล็กลง)
    • ชนิดตัวอักษรและแบบตัวอักษรที่ใช้มีความกลมกลืนเป็นระบบในทุกหน้าของเว็บไซต์
  • การใช้สี ประกอบด้วย
    • สีตัวอักษร
    • สีพื้นเว็บ
    • สีภาพประกอบ
    • สีวัตถุอื่นๆ ที่นำมาประกอบ
      • ใช้สีสวยงามสบายตาไม่หลากหลายสีเกินไป
      • ใช้สีสื่อความหมายได้(เช่นสีแดงแทนเรื่องราวใหม่ๆ ที่น่าติดตาม)
      • ความแตกต่างระหว่างสีพื้นและสีข้อความ สีภาพประกอบ เหมาะสม
      • มีความแตกต่างระหว่างสีข้อความและข้อความที่ลิงค์ได้
      • ความกลมกลืนในการใช้สีในทุกหน้าของเว็บไซต์
  • ภาพกราฟิก
    • ชนิดของภาพเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (ภาพวาดการ์ตูนใช้กับเด็ก, ภาพถ่ายใช้ กับบุคคลทั่วไป)
    • ภาพต้องสื่อความหมายตรงตามจุดประสงค์หรือสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้มาก กว่าตัวหนังสือ
    • ขนาดของภาพที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
    • ชนิดและขนาดของไฟล์ภาพไม่ใหญ่เกินไป
  • การประเมินด้านภาพเคลื่อนไหว(animation)
    • ควรใช้ในกรณีที่ไม่สามารถหาภาพจริงได้ (เช่นภาพการไหลเวียนของโลหิต) หรือการอธิบายเรื่องที่เป็นนามธรรมหรือเรื่องที่ซับซ้อนเพื่อให้ดูง่ายขึ้น
    • ภาพต้องสื่อความหมายตรงตามจุดประสงค์หรืออธิบายเพิ่มเติมได้มากกว่า หนังสือ
    • ขนาดของภาพที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
    • ชนิดและขนาดของไฟล์ภาพไม่ไหญ่เกินไป
    • ความเร็วของการเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ
    • จำนวนของภาพเคลื่อนไหวเหมาะสม(ไม่มากเกินไป)
  • การประเมินด้านภาพวีดิทัศน์ (video)
    • ใช้ในกรณีที่เนื้อหาต้องการนำเสนอถึงความต่อเนื่องของขั้นตอนวิธีการอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือแสดงสภาพจริงที่เกิดขึ้น
    • ขนาดของภาพวิดิทัศน์ที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
    • ชนิดและขนาดของไฟล์ไม่ใหญ่เกินไป
    • ภาพวิดิทัศน์ที่แสดงเคลื่อนไหวเหมือนจริง
    • บอกวิธีการเปิดดูวีดิทัศน์หรือโปรแกรมที่จะใช้ในการดู
  • การประเมินด้านเสียงควรมีดังนี้
    • ทั้งเสียงบรรยายและเสียงประกอบ(Background) ชัดเจน
    • ใช้เสียงเหมาะสมไม่รบกวนผู้ใช้เว็บไซต์
    • มีความจำเป็นในการใส่เสียงลงในเว็บไซต์
    • ขนาดและชนิดของไฟล์เสียงไม่ใหญ่เกินไป
    • เสียงมีความสอดคล้องสมจริงเข้ากับเนื้อหา
    • คำแนะนำประกอบว่าจะใช้อย่างไรเปิดด้วยโปรแกรมอะไร
    • สามารถเลือกได้ว่าจะฟังเสียงหรือไม่
  • การประเมินด้านปุ่ม (Buttons) และสัญรูป (Icon)
    • ขนาดเหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย
    • ตำแหน่งที่จัดวางเหมาะสมและตรงกันในทุกๆ หน้า
    • สื่อความหมายได้เพียงพอ มีความเป็นสากลตามกลุ่มเป้าหมาย
    • รูปแบบและขนาดของปุ่มเหมือนกันทุกหน้า
  • การประเมินด้านการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ (ภาพ,ข้อความฯลฯ)ควรมีดังนี้
    • มีความสมดุลเหมาะสม
    • มีความเป็นสากล(เช่นจากบนมาล่าง ซ้ายไปขวา)
    • มีความกลมกลืนในทุกๆ หน้า
เกณฑ์การประเมินสำหรับเว็บเพจหน้าเนื้อหา
  • แนวคิดในการออกแบบ
    • สำหรับเด็กนักเรียน
    • สำหรับนักศึกษา
    • สำหรับบุคคลทั่วไป
  • องค์ประกอบ
    • ชื่อหัวข้อเรื่องแต่ละเรื่องเหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อหา
    • มีกระดานข่าว(web board) (เพื่อเสนอเนื้อหาปรับปรุงที่น่าสนใจ รวมถึงการ ถามปัญหา การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ)
    • มีการออกแบบที่สอดคล้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ดึงดูดความสนใจ (เช่น มีภาพการ์ตูนสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็ก)
    • ไม่ใช้ภาพ ข้อความ เนื้อหาหรือส่วนใดส่วนหนึ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์
  • การประเมินด้านตัวอักษรควรมีดังนี้
    • ชนิดตัวอักษร (Font) ต้องเป็นมาตรฐาน (ไม่ต้องลง Font เพิ่มเติมในบางเครื่อง)
    • ชนิดตัวอักษรไม่ควรหลากหลายเกินกว่า 3 ชนิดใน 1 หน้าเว็บเพจ
    • ชนิดตัวอักษรต้องเป็นแบบที่อ่านง่ายชัดเจน
    • รูปแบบตัวอักษร(ตัวเอียง, ขีดเส้นใต้, หนา,บาง) แตกต่างเหมาะสม (เช่นถ้าเป็น หัวข้อใช้ตัวหนา ตัวบางใช้สำหรับเนื้อหาปกติ )
    • ขนาดตัวอักษรต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (เช่นเด็กเล็กใช้ขนาดตัวอักษร ใหญ่ ระดับมัธยม อุดมศึกษา ตัวอักษรขนาดเล็กลง)
    • ชนิดตัวอักษรและแบบตัวอักษรที่ใช้มีความกลมกลืนเป็นระบบในทุกหน้าของเว็บไซต์
  • การใช้สี
    • สีตัวอักษร
    • สีพื้นเว็บ
    • สีภาพประกอบ
    • สีวัตถุอื่นๆ ที่นำมาประกอบ
    • ใช้สีสวยงามสบายตาไม่หลากหลายสีเกินไป
    • ใช้สีสื่อความหมายได้(เช่นสีแดงแทนเรื่องราวใหม่ๆ ที่น่าติดตาม)
    • ความแตกต่างระหว่างสีพื้นและสีข้อความ สีภาพประกอบ เหมาะสม
    • มีความแตกต่างระหว่างสีข้อความและข้อความที่ลิงค์ได้
    • ความกลมกลืนในการใช้สีในทุกหน้าของเว็บไซต์
  • ภาพกราฟิก
    • ชนิดของภาพเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย (ภาพวาดการ์ตูนใช้กับเด็ก, ภาพถ่ายใช้ กับบุคคลทั่วไป)
    • ภาพต้องสื่อความหมายตรงตามจุดประสงค์หรือสามารถอธิบายเพิ่มเติมได้มาก กว่าตัวหนังสือ
    • ขนาดของภาพที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
    • ชนิดและขนาดของไฟล์ภาพไม่ใหญ่เกินไป
  • การประเมินด้านภาพเคลื่อนไหว(animation)
    • ควรใช้ในกรณีที่ไม่สามารถหาภาพจริงได้ (เช่นภาพการไหลเวียนของโลหิต) หรือการอธิบายเรื่องที่เป็นนามธรรมหรือเรื่องที่ซับซ้อนเพื่อให้ดูง่ายขึ้น
    • ภาพต้องสื่อความหมายตรงตามจุดประสงค์หรืออธิบายเพิ่มเติมได้มากกว่า หนังสือ
    • ขนาดของภาพที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
    • ชนิดและขนาดของไฟล์ภาพไม่ไหญ่เกินไป
    • ความเร็วของการเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติ
    • จำนวนของภาพเคลื่อนไหวเหมาะสม(ไม่มากเกินไป)
  • การประเมินด้านภาพวีดิทัศน์ (video)
    • ใช้ในกรณีที่เนื้อหาต้องการนำเสนอถึงความต่อเนื่องของขั้นตอนวิธีการอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือแสดงสภาพจริงที่เกิดขึ้น
    • ขนาดของภาพวิดิทัศน์ที่แสดงในหน้าจอเหมาะสม
    • ชนิดและขนาดของไฟล์ไม่ใหญ่เกินไป
    • ภาพวิดิทัศน์ที่แสดงเคลื่อนไหวเหมือนจริง
    • บอกวิธีการเปิดดูวีดิทัศน์หรือโปรแกรมที่จะใช้ในการดู
  • การประเมินด้านเสียงควรมีดังนี้
    • ทั้งเสียงบรรยายและเสียงประกอบ(Background) ชัดเจน
    • ใช้เสียงเหมาะสมไม่รบกวนผู้ใช้เว็บไซต์
    • มีความจำเป็นในการใส่เสียงลงในเว็บไซต์
    • ขนาดและชนิดของไฟล์เสียงไม่ใหญ่เกินไป
    • เสียงมีความสอดคล้องสมจริงเข้ากับเนื้อหา
    • คำแนะนำประกอบว่าจะใช้อย่างไรเปิดด้วยโปรแกรมอะไร
    • สามารถเลือกได้ว่าจะฟังเสียงหรือไม่
  • การประเมินด้านปุ่ม (Buttons) และสัญรูป (Icon)
    • ขนาดเหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย
    • ตำแหน่งที่จัดวางเหมาะสมและตรงกันในทุกๆ หน้า
    • สื่อความหมายได้เพียงพอ มีความเป็นสากลตามกลุ่มเป้าหมาย
    • รูปแบบและขนาดของปุ่มเหมือนกันทุกหน้า
  • การประเมินด้านการจัดวางองค์ประกอบต่างๆ (ภาพ,ข้อความฯลฯ) ควรมีดังนี้
    • มีความสมดุลเหมาะสม
    • มีความเป็นสากล(เช่นจากบนมาล่าง ซ้ายไปขวา)
    • มีความกลมกลืนในทุกๆ

เกณฑ์การประเมินด้านการออกแบบการสอน (Instructional Design)

  • การประเมินด้านวัตถุประสงค์ของบทเรียนควรมีดังนี้
    • เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดผลได้ (เช่น การบอกได้ อธิบายได้ ไม่ใช่การรู้ได้ เข้าใจได้)
    • วัตถุประสงค์สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
    • วัตถุประสงค์ครอบคลุมเนื้อหา สั้นกะทัดรัดและชัดเจน
  • การประเมินด้านการนำเสนอเนื้อหาควรมีดังนี้
    • นำเสนอเนื้อหาตามลำดับจากง่ายไปยาก
    • นำเสนอเนื้อหาจากภาพรวมใหญ่ไปสู่ส่วนย่อย
    • นำเสนอเนื้อหาจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม…
    • นำเสนอเนื้อหาจากประโยชน์ที่ได้รับไปสู่ทฤษฎีที่จำเป็นต้องเรียนรู้ประกอบ
  • การประเมินด้านการใช้ภาษาควรมีดังนี้
    • สื่อความหมายได้ชัดเจนเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
    • เป็นภาษาเขียนที่สุภาพไม่ใช่ภาษาเฉพาะกลุ่ม
    • ใช้ภาษาถูกต้องทั้งตัวสะกดและไวยากรณ์
    • มีการเรียบเรียงภาษาให้ผู้ชมเข้าถึงอารมณ์และบรรยากาศ
    • กรณีเป็นภาษาวิชาการเช่นสูตรทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ต้องพิมพ์ถูก ต้องตามตำแหน่งบังคับไม่ใช้สัญลักษณ์อื่นแทน
  • การประเมินด้านกิจกรรมการสอนควรมีดังนี้ (หมายถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ เจตคติและมีทักษะตามจุดมุ่งหมายของบทเรียน)
    • เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
    • เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยการปฏิสัมพันธ์ระดับต่างๆ รวมถึงการ ติดต่อกับผู้สอนผ่านเว็บ (อาจเป็น mail, chat, web board)
    • เป็นกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(เช่นผู้เรียนสามารถสร้างโครงงานผ่านเว็บ เพื่อประเมินได้ หรืออื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน)
    • เป็นกิจกรรมที่เน้นบทบาทครูเป็นสำคัญ
    • เป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรประกอบเพิ่มเติม(เช่นซอฟแวร์ไมโครโฟนฯ)
    • เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • การประเมินด้านเวลาที่ใช้ควรมีดังนี้
    • จำกัดเวลาเพียงพอเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
    • ไม่จำกัดเวลายืดหยุ่นตามระดับความสามารถของบุคคล
    • ไม่จำกัดเวลาแต่บอกมาตรฐานที่ควรใช้และมีการบันทึกเวลาที่ใช้
  • การประเมินด้านการทดสอบ/ประเมินผลควรมีดังนี้
    • ตรงตามจุดประสงค์ครอบคลุมเนื้อหาวิชา
    • รูปแบบการทดสอบเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
    • รูปแบบการทดสอบหลากหลายวิธี(จับคู่ เลือกตอบฯ)
    • ผู้ทดสอบสามารถเลือกระดับการทดสอบได้อาจมี ง่าย ปานกลาง และยาก
    • การประเมินหลายช่วง (เช่นเริ่มเรียน ขณะเรียน และหลังเรียน)
    • จำนวนข้อทดสอบเหมาะสม
    • ข้อทดสอบมีความเป็นปรนัย(มีความเที่ยงและความตรง)
    • การให้คำเฉลยหรืออธิบายเพิ่มเติม
    • การรายงานผลการทดสอบ
    • การกำหนดระยะเวลาการทดสอบ
  • การประเมินด้านประโยชน์ในการนำไปใช้มีดังนี้
    • ประโยชน์ต่อการค้นคว้าเพิ่มเติมหรือให้ความรู้ทั่วไปในวงกว้าง
    • ประโยชน์ต่อการค้นคว้าเพิ่มเติมหรือให้ความรู้เฉพาะกลุ่มเฉพาะคณะ
    • ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนที่ต้องมีครูช่วยจัดการดูแล
    • ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง

เนื้อหา

  • เนื้อหามีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
  • เนื้อหามีความถูกต้องตามหลักวิชา
  • เนื้อหาเป็นเรื่องเดียวกันมีความสมบูรณ์จบในตัวเอง
  • เนื้อหามีความกว้างลึกเหมาะสมไม่ยาวหรือสั้นเกินไป
  • เนื้อหามีความทันสมัย
  • เนื้อหาสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
  • มีความน่าเชื่อถืออ้างอิงแหล่งที่มา
  • สร้างระบบคิด วิเคราะห์ให้กับผู้เรียน
เทคนิคในการพัฒนาเว็บไซต์
  • การกำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์
    • การตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์
    • การกำหนดโฟลเดอร์หลักและโฟลเดอร์ย่อย
  • การแสดงผลภาษาไทย
    • การแสดงผลภาษาไทยผ่านเบราเซอร์ต่างๆ
    • การตั้งค่าการเข้ารหัสและถอดรหัสภาษา
    • แสดงผลภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน
  • การสนับสนุนโปรแกรมค้นหาต่างๆ (Search Engine)
    • การกำหนดชื่อเว็บไซต์ (Title)
    • การกำหนดค่าสำหรับเว็บค้นหาผ่าน Meta Tag ต่างๆ
  • ความถูกต้องในการเชื่อมโยง (Link)
    • ความถูกต้องในการเชื่อมโยงกับไฟล์เอกสารเว็บ
    • ความถูกต้องในการเชื่อมโยงไปหาเว็บอื่นๆ
    • ความถูกต้องในการดาวน์โหลดไฟล์/โปรแกรม
    • ความถูกต้องในการเชื่อมโยง
  • การประเมินด้านการเชื่อมโยงควรมีดังนี้
    • ความถูกต้องในการเชื่อมโยงกับไฟล์เอกสารภายในเว็บไซต์
    • ความถูกต้องในการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์อื่นๆ
    • ความถูกต้องในการเชื่อมโยงกับ plug-in และโปรแกรมต่างๆ
    • ความจำเป็นในการเชื่อมโยง
  • การประเมินด้านเทคนิคอื่นๆ
    • เทคนิคการนำเสนอภาพได้อย่างรวดเร็ว(เช่นการตัดภาพขนาดใหญ่ให้เป็น ชิ้นเล็กๆทำให้เรียกดูได้อย่างรวดเร็วหรือการลดรายละเอียดของภาพฯลฯ)
    • ความถูกต้องในการดาวน์โหลดไฟล์และสามารถบอกขนาดของไฟล์ที่ดาวน์ โหลดได้
    • ความสามารถในการเลือกใช้ลักษณะเด่นของโปรแกรมต่างๆ ที่นำมาพัฒนา เว็บไซต์
    • สามารถเข้าถึงโดยผู้พิการทางสายตาได้