NECTEC
NSTDA
Home
Computer
Program
Internet & Web
Graphics
CAI
Multimedia
Electrical Power
General Education
Special Education
Links
Webmaster
CAI - CBT - WBT - E-Learning

โอกาสทางการศึกษา คุณภาพ ความคุ้มทุนและความเป็นไปได้ การศึกษาทางไกล
ตามการวิเคราะห์ข้างต้นทุกคนคงไม่ปฏิเสธว่า การศึกษาทางไกล เป็นการให้โอกาสทั้งในระดับบุคคล หน่วยงานและประเทศ ที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีที่ครอบคลุม และเข้าถึงได้ทั้งในบ้าน ที่ทำงานและสถานศึกษาทั่วประเทศ และในหลายกรณีข้ามประเทศด้วย แต่ที่มักจะเป็นคำถามอยู่ตลอดเวลาคือคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยการพิจารณาจากหลายด้าน เช่น การจัดทำเนื้อหาที่เหมาะสมกับสาขาวิชา การใช้เทคโนโลยีในการเสนอบทเรียน การให้นักศึกษามีความ กระตือรือร้นในห้องเรียน โดยการใช้คอมพิวเตอร์ทำการทดสอบอย่างสม่ำเสมอ มีการประเมินผลหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหาร มีการทดสอบนักเรียนที่จบการศึกษาทางไกล เปรียบเทียบกับนักศึกษาภาคปกติ เป็นต้น ในประเทศญี่ปุ่น ได้เคยทำการทดสอบคุณภาพของนักเรียนทางไกล ด้วยเครือข่ายไพน์ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งฮอกไกโด จำนวน 1,413 คน เปรียบเทียบ กับนักศึกษาในห้องเรียนปกติจำนวน 1,413 คน เช่นเดียวกัน พบว่านักศึกษาที่เรียนทางไกลด้วยเครือข่ายไพน์ ผ่านดาวเทียมมีคะแนนคุณภาพที่ดีกว่า

ในการประเมินความคุ้มทุนเชิงเศรษฐศาสตร์ ได้มีการประเมินเปรียบทียบต้นทุน ( Cost ) กับประโยชน์ ( Benefit ) ที่ได้รับจากระบบการสอนทางไกลในบริษัทเอ็นอีซีของญี่ปุ่น พบว่า ต้นทุนของระบบประกอบด้วย ค่าเช่าสายโทรคมนาคม ค่าเสื่อมราคาของระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ (ชื่อ NESPAC ) , ค่าเช่าพื้นที่ทำการค่าบริหาร และบำรุงรักษาระบบ ตกประมาณ 600 ล้านเยนต่อปี ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูง แต่หากเปรียบเทียบกับ การประหยัดค่าใช้จ่าย จากการที่พนักงานบริษัทไม่ต้องเดิน ทางแล้ว ปรากฏว่าคุ้มกับการลงทุน เพราะหากไม่มีระบบดังกล่าวแล้ว จะต้องมีการเดินทาง และค่าที่พักของพนักงาน เพื่อรับการฝึกอบรม เป็นเงินทั้งสิ้น 3.24 พันล้านเยน

การเจริญเติบโตทางเทคโนโลยี ตอบคำถามแรกว่า การศึกษาทางไกลมีความเป็นไปได้ และมีแต่จะขยายตัวมากขึ้น เทคโนโลยีที่สำคัญคือ ดาวเทียม เส้นใยนำแสง ที่มีอยู่แล้วในประเทศ จะขาดก็เพียงแต่การเชื่อมโยงเป็นระบบ รวมทั้งการปรับกฎหมาย เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี ในการให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งทางกระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ก็ให้ความเห็นชอบแล้ว เหลือแต่เพียงการดำเนินการที่เร็วหรือช้าเท่านั้น การเจริญเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นสัญลักษณ์ที่ดีของวิวัฒนาการเครือข่ายสารสนเทศ ที่เอื้อต่อการศึกษาทางไกล เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ และการศึกษาอยู่ในตนเอง การใช้เวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อเผลแพร่บทเรียน การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มข่าวสารเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และส่งการบ้าน กระทำได้อย่างประหยัดปัจจุบันสามารถใช้ “ เสียงเมื่อต้องการ ” (Audio on Demand) เพื่อเผยแพร่บทเรียนได้เช่นเดียวกับการใช้วิทยุเพื่อการศึกษา แต่ที่ดีกว่าคือ ผู้เรียนสมารถเรียกฟังได้ตามเวลาที่ตนต้องการ การใช้โทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ตในราคาที่ต่ำ และไม่ขึ้นกับระยะทาง ย่อมจะเปิดโอกาสให้เกิดการประชุมด้วยเสียง ( Audio Conference ) และการประชุมด้วยภาพและเสียงทางไกลพร้อมกัน ( Video Conference )ควรจะปรับปรุงเทคโนโลยีให้สามารถใช้งานที่เป็นจริงได้ ความเป็นไปได้ทางการเมืองนั้น ก็ได้เกิดขึ้นหลายครั้งล่าสุด คงจะเป็นโครงการขยายวิทยาเขตสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัยไปในส่วนภูมิภาค ที่ทบวงมหาวิทยาลัยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

ปัญหาและอุปสรรคคงจะเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกันพิจารณา ที่สำคัญคงจะเป็นการบริหารเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพ การเลือกสาขาวิชาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ ความต้องการของประเทศ อีกทั้งการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพสูง ค่าใช้จ่ายด้วยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเทคโนโลยี อาทิเช่น บุคลากร ในแต่ละมหาวิทยาลัยและวิทยาเขต และที่สำคัญทีสุดคือ การมีองค์กรบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นสากล

ความเป็นไปได้

โครงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยนี้ เป็นโครงการที่ผ่านความเห็นชอบและได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นโครงการที่ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลในการดำเนิน และเมื่อพิจารณาประกอบกับการขยายตัวของเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม (ทั้งดาวเทียมและเส้นใยนำแสง) แล้วในแน่ใจได้ว่าโครงการฯ นี้มีความเป็นไปได้ทั้งในทางหลักการและภาคปฏิบัติ