NECTEC
NSTDA
Home
Computer
Program
Internet & Web
Graphics
CAI
Multimedia
Electrical Power
General Education
Special Education
Links
Webmaster
Web Design by Macromedia Dreamweaver

การควบคุมเฟรม

การควบคุมเฟรม หรือทำงานกับเฟรม จะอาศัยบัตรทำงานของเฟรม โดยการเปิด/ปิดจากเมนูคำสั่ง Window, Frames ซึ่งมีลักษณะดังนี้

และบัตร Properties ควบคุม (เปิด/ปิดด้วยเมนูคำสั่ง Window, Properties)

โดยการทำงานจะต้องใช้การคลิกเลือกส่วนของเฟรมที่ต้องการ ดังนี้

การควบคุมเฟรมทั้งหมด

  • คลิกที่เส้นขอบเฟรมรอบนอก จากบัตร Frames
  • สังเกตได้ว่าบัตร Properties จะแสดงรายการของ Frameset
  • กำหนดค่าต่างๆ ดังนี้
    • Borders กำหนดว่าให้แสดงเส้นขอบเฟรมหรือไม่
    • Border Width ค่าความหนาของเส้นขอบเฟรม หน่วยเป็น pixel
    • Border Color สีของเส้นขอบเฟรม
    • Value/Unit ค่าความกว้างของเฟรม หน่วยเป็น % หรือ Pixel

การควบคุมเฟรมแต่ละส่วน

เมื่อควบคุมเฟรมหลักได้แล้ว ก็จะทำการควบคุมเฟรมแต่ละส่วน ดังนี้

  • คลิกในเฟรมที่ต้องการ จากบัตร Frames
  • สังเกตได้ว่าบัตร Properties จะปรากฏในลักษณะดังนี้
  • รายการต่างๆ จากบัตร Properties ประกอบ
    • Frame Name กำหนดชื่อส่วนของเฟรม (เน้นตัวพิมพ์ ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กเป็นสำคัญ)
    • Src ระบุชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดงในเฟรม
    • Scroll กำหนดการแสดง Scroll Bar
    • No Resize ค่ากำหนดว่าให้เฟรมสามารถปรับขนาดได้ หรือไม่ได้
    • Borders ค่ากำหนดให้แสดงเส้นขอบเฟรม
    • Border Color ค่ากำหนดเกี่ยวกับสีขอบเฟรม
    • Margin Width ระยะห่างจากเส้นขอบเฟรมเข้ามาในเฟรม ในแนวนอน
    • Margin Height ระยะห่างจากเส้นขอบเฟรมเข้ามาในเฟรม ในแนวตั้ง

การทำลิงก์เพื่อใช้กับเฟรม

การทำลิงก์เพื่อใช้กับเฟรม จะมีส่วนเพิ่มเติมที่ต้องการทราบ จะต้องกำหนด Target เสมอ ซึ่งก็คือ กำหนดว่าไฟล์ที่ลิงก์ให้แสดงผลในเฟรมส่วนใด ชื่ออะไร โดยการนำชื่อเฟรมมาพิมพ์ใส่ในช่อง Target จากบัตร Properties

เมื่อตั้งค่าต่างๆ ครบแล้ว ไฟล์เอกสารที่เป็นเฟรม จะต้องใช้คำสั่ง File, Save Frameset และหากมีการกำหนดไฟล์ย่อยในเฟรมแต่ละส่วนแล้ว ให้ใช้คำสั่ง File, Save All เสมอ