NECTEC
NSTDA
Home
Computer
Program
Internet & Web
Graphics
CAI
Multimedia
Electrical Power
General Education
Special Education
Links
Webmaster
Multimedia Technology

Digital Technology ของ National Palace Museum ประเทศไต้หวัน
 

ประเทศไต้หวันได้ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บ รวมรวบ และเผยแพร่ข้อมูลศิลปวัฒนธรรมของประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวัตถุต่างๆ ที่นำมาจากประเทศจีน ซึ่งมีจำนวนถึง 650,000 ชิ้น โดยไต้หวันได้กำหนดให้หน่วยงานชื่อ National Palace Museum รับผิดชอบในการดูแลรักษา จัดเก็บ รวบรวม จัดหมวดหมู่ และเผยแพร่ส่งเสริมความรักในศิลปะให้กับเยาวชนในชาติ

การจัดเก็บศิลปวัตถุต่างๆ อยู่ภายใต้การดูแลของ National Palace Museum ซึ่งจัดตั้งในปี 1952 มีศิลปวัตถุที่ต้องดูแลจำนวน 650,000 ชิ้น ประกอบด้วย วัตถุที่เป็นบรอนซ์, หยก, เซรามิก, ภาพวาด, ของแปลกต่างๆ รวมทั้งเอกสารเก่าแก่ต่างๆ โดยมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการรวบรวม จัดหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นคืน

NPM (National Palace Museum) วางแผนงานไว้ 3 แผนประกอบด้วย

  • ระบบ Digital Archives
  • ระบบ Digital Museum
  • ระบบ e-Learning และการขยายโอกาสการศึกษาด้านศิลปะและวัฒนธรรม

การดำเนินการด้าน Digital Archives

การดำเนินการด้าน Digital Archives เป็นการวางระบบฐานข้อมูลเพื่อจัดหมวดหมู่ จัดเก็บศิลปวัตถุต่างๆ โดยอาศัยรูปภาพดิจิตอล และ Metadata รวมทั้งระบบการสืบค้นด้วยระบบต่างๆ ทั้งนี้การดำเนินการแบ่งได้ 8 ขั้นตอนคือ

  • การกำหนดมาตรฐานของการจัดเก็บระบบดิจิตอล
  • การคัดเลือกวัตถุ
  • การวิเคราะห์ Metadata
  • การสร้างและปรับปรุงรูปภาพดิจิตอล
  • การจัดการเกี่ยวกับสีของภาพดิจิตอล
  • การป้องกันลิขสิทธิ์รูปภาพดิจิตอล
  • การจัดเก็บและบริหารงาน
  • การเพิ่มคุณค่าเพิ่มด้วยระบบต่างๆ

การกำหนดมาตรฐานของการจัดเก็บระบบดิจิตอล - เพื่อให้สะดวกต่อ การจัดเก็บภาพดิจิตอล ได้กำหนดมาตรฐานในการจัดเก็บภาพดิจิตอล ไว้ดังนี้

  • ภาพสแกนต้นฉบับ จัดเก็บในระบบ TIFF แบบ Ultra high resolution
  • ภาพจัดทำ Archives จัดเก็บในระบบ TIFF แบบ High resolution
  • ภาพทั่วไป จัดเก็บในระบบ TIFF แบบ Medium resolution
  • ภาพอ้างอิง จัดเก็บในระบบ JPEG Low resolution
  • ภาพแสดงตัวอย่างบนเว็บ จัดเก็บในระบบ GIF Low resolution

การคัดเลือกศิลปวัตถุ อาศัยข้อกำหนดเกี่ยวกับ

  • ความสำคัญ
  • ความต้องการเพื่องานวิจัย
  • การต้องการเผยแพร่หรือจัดแสดงบ่อยครั้ง

การวิเคราะห์ Metadata

  • ใช้มาตรฐาน Metadata ระบบ CDWA - Categories for the Description of Works of Art

การสร้างและปรับปรุงภาพดิจิตอล

  • ขั้นตอนปฏิบัติในการถ่ายภาพศิลปวัตถุต่างๆ ที่มี แล้วจัดเก็บในรูปแบบของดิจิตอลไฟล์ โดยจัดเก็บตามมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูล
  • ภาพสแกนต้นฉบับ จัดเก็บด้วยโหมด CMYK ความละเอียด 600 dpi ขึ้นไป
  • ภาพจัดทำ Archives จัดเก็บด้วยโหมด CMYK ความละเอียด 350 dpi ขึ้นไป
  • ภาพทั่วไป จัดเก็บด้วยโหมด RGB ความละเอียด 72 dpi
  • ภาพอ้างอิง จัดเก็บด้วยโหมด Index Color ความละเอียด 72 dpi

การจัดการเกี่ยวกับสีของภาพดิจิตอล

  • เป็นขั้นตอนการเปรียบเทียบสีของภาพดิจิตอลกับวัตถุต้นฉบับ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการนำเสนอ

การป้องกันลิขสิทธิ์รูปภาพดิจิตอล

เนื่องจากภาพต่างๆ เป็นภาพที่มีคุณค่าและมีความสำคัญในระดับประเทศ การนำเสนอภาพต่างๆ ทั้งบนสื่อมัลติมีเดียและออนไลน์จำเป็นต้องเพิ่มข้อมูลลิขสิทธิ์ จึงต้องนำระบบ Metadata และ Watermarking มาเพิ่มข้อมูลลิขสิทธิ์ในภาพดิจิตอลก่อนเผยแพร่ทุกครั้ง

Watermarking

Watermarking

ทั้งนี้ภาพทุกภาพที่ใส่ Watermark แล้วจะไม่ปรากฏข้อความนั้นๆ บนภาพ แต่จะฝังไว้บนไฟล์ภาพ หากมีผู้ใดนำภาพไปใช้งาน แม้แต่การสั่งพิมพ์ เจ้าหน้าที่ของ NPM สามารถตรวจสอบได้โดยนำภาพพิมพ์มาทำการสแกนด้วย Scanner แล้วใช้โปรแกรมตรวจสอบข้อมูล Watermark แสดงผลบนจอภาพได้ต่อไป

การจัดเก็บและบริหารงาน

ข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะภาพดิจิตอล มีการจัดเก็บหลายรูปแบบทำให้ต้องใช้สื่อจัดเก็บ (Storage) ขนาดใหญ่ จึงต้องมีระบบจัดเก็บที่เป็นระบบเพื่อสะดวกต่อการค้นคืนต่อไป

Storage System

การเพิ่มคุณค่าเพิ่มด้วยระบบต่างๆ

เพื่อให้ระบบมีคุณค่าในตัวเอง จึงต้องนำระบบอื่นๆ มาช่วยเพิ่มมูลค่าของชิ้นงาน เช่น การนำเสนอในระบบการจัดแสดงนิทรรศการแบบดิจิตอล เช่นการแสดงผลภาพดิจิตอลระบบสามมิติ, e-Learning, การจัดทำระบบธุรกิจเพื่อหารายได้เพิ่มเป็นต้น

Digital Museum

NPM ได้จัดทำเว็บไซต์นำเสนอผลงานต่างๆ ของหน่วยงานผ่านทางเว็บไซต์ http://www.npm.gov.tw/ ทั้งหมด 8 ภาษา ซึ่งมีหน้าเว็บดังนี้

National Palace Museum Taiwan

นับว่าเป็นระบบนำเสนอที่มีคุณค่าและน่าสนใจมาก ทั้งนี้การพัฒนาใช้วิธีจ้างหน่วยงานภายนอกร่วมพัฒนา โดยเฉพาะการออกแบบกราฟิกเพื่อให้ได้เว็บไซต์ที่สวยงาม น่าติดตาม การนำเสนอมีทั้งแบบ Text, Image, 3D, Virtual Reality และเกมฝึกสมองสำหรับเด็กและเยาวชนที่สนใจศิลปะ

สรุป นับว่าการจัดทำระบบ Digital Archive ของ National Palace Museum ของไต้หวันมีประสิทธิภาพน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
14 มกราคม 2546