NECTEC
NSTDA
Home
Computer
Program
Internet & Web
Graphics
CAI
Multimedia
Electrical Power
General Education
Special Education
Links
Webmaster
Microsoft Excel

ตรวจสอบเปรียบเทียบข้อมูล

จากตัวอย่างข้างต้น ต้องการตรวจสอบว่าข้อมูลในคอลัมน์ C (รายการใหม่) มีรายการใดบ้าง ที่เป็นรายการใหม่ และรายการใดบ้าง ซ้ำซ้อนกับรายการเดิม ทั้งนี้มีลำดับการตรวจสอบดังนี้

ลำดับที่ 1 ใช้ฟังก์ชัน vlookup ช่วยค้นหาข้อมูลในคอลัมน์ C ว่ารายการใดมีอยู่ในรายการคอลัมน์ A โดยแสดงผลลัพธ์ในคอลัมน์ D ด้วยสูตรดังนี้

=VLOOKUP(C2,$A$2:$A$7,1,FALSE)

  • C2 ระบุว่าต้องการค้นหาข้อมูลในเซลล์ C2
  • $A$2:$A$7 ระบุช่วงข้อมูลที่ต้องการค้นหาเปรียบเทียบ แบบ Absolute
  • 1 ระบุว่าคอลัมน์ที่ต้องการใช้ตรวจสอบค้นหาคือคอลัมน์แรก (คอลัมน์ A)
  • False ระบุกฏการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ตรวจสอบไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ (Sorting)
  • เมื่อป้อนเซลล์แรกเรียบร้อยแล้วก็ทำการคัดลอกสูตรไปยังเซลล์ถัดไปจนครบทุกเซลล์ จะปรากฏผลลัพธ์ดังนี้
  • หมายความว่ารายการที่ 4, 5 และ 7 เป็นรายการใหม่ ไม่ปรากฏในรายการเดิม จึงแสดงผลด้วย #N/A

ลำดับที่ 2 ใช้ฟังก์ชัน IF และ ISNA ช่วยแสดงผลโดยข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ให้แสดงด้วยคำว่า "ซ้ำซ้อน" และแสดงด้วยคำว่า "ข้อมูลใหม่" สำหรับรายการใหม่ ทั้งนี้สูตรที่ปรับปรุงจะเป็นดังนี้

=IF(ISNA(VLOOKUP(C2,$A$2:$A$7,1,FALSE)),"ข้อมูลใหม่","ซ้ำซ้อน")

ความหมายคือ ISNA จะตรวจสอบว่ารายการใด ที่มีค่า Error เป็น #N/A ซึ่งได้แก่รายการในแถวที่ 4, 5 และ 7 นั่นเอง ดังนั้นจึงใช้ IF มาแสดงผลข้อความให้ชัดเจนขึ้นนั่นเอง ซึ่งได้ผลลัพธ์ดังนี้

ลำดับที่ 3 ใช้คำสั่ง Format, Conditional Formatting แสดงผลคำว่า "ข้อมูลใหม่" ด้วยสีแดง

  • เลือกข้อมูลในช่วง E2:E7
  • เลือกเมนูคำสั่ง Format, Conditional Formatting ป้อนคำสั่งดังนี้
  • คลิกปุ่ม Format... เลือกรายการสีเป็นสีแดง เมื่อคลิกปุ่ม OK โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและแสดงผลคำว่า "ข้อมูลใหม่" ด้วยสีแดงดังตัวอย่างข้างต้น