NECTEC
NSTDA
Home
Computer
Program
Internet & Web
Graphics
CAI
Multimedia
Electrical Power
General Education
Special Education
Links
Webmaster
Microsoft Word

เครื่องหมายวรรคตอน

การพิมพ์งาน ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมใดก็ตาม มักจะสร้างปัญหาให้กับผู้พิมพ์ได้ประการหนึ่งก็คือ การตัดคำ เนื่องจากโปรแกรมไม่มีความสามารถในการจำแนก และแยกแยะคำได้อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนผสมกับข้อความ ดังนั้นเพื่อช่วยให้โปรแกรมแสดงผล และตัดคำได้อย่างสมบูรณ์ ควรทราบหลักการใช้เครื่องหมายวรรคตอน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • เครื่องหมายวรรคตอนในหนังสือโบราณของไทย
    • ฟองมัน ๏ ใช้เมื่อขึ้นต้นบทย่อย
    • โคมูตร ๛ ใช้เมื่อเติมท้ายเมื่อจบเรื่อง
    • ช่องว่าง – ควรเคาะช่องว่างเพียง 1 ช่องเท่านั้น
  • นขลิขิตหรือวงเล็บ ( )
    • ใช้คร่อมคำ หรือข้อความที่ขยายใจความ หรืออฺธิบายความของคำ หรือข้อความข้างหน้า – ควรเว้นวรรค 1 ครั้งก่อนเปิดวงเล็บ และเว้นวรรค 1 ครั้งหลังปิดวงเล็บ ข้อความภายในวงเล็บควรติดกับเครื่องหมายวงเล็บเปิด และเครื่องหมายวงเล็บปิด เช่น มาตรฐานสิ่งพิมพ์ของ ISO (International Organization for Standardization)
  • อัญประกาศหรือเครื่องหมายคำพูด ( “ ก ” )
    • ใช้กำกับข้อความที่ยกมาจากที่อื่น หรือกำกับคำพูด – ควรเว้นวรรค 1 ครั้ง ก่อนเปิดเครื่องหมายคำพูดและเว้นวรรค 1 ครั้ง หลังปิดเครื่องหมายคำพูด ข้อความภายในเครื่องหมายคำพูด ควรติดกับเครื่องหมายคำพูดเปิด และเครื่องหมายคำพูดปิด เช่น
      ข้อความในเวนิสวานิชที่ว่า “ อันวาความกรุณาปราณี จะมีใครบังคับก็หาไม่ ”
  • อัญประกาศใน หรืออัญประกาศเดี่ยว (‘ d ')
    • ใช้กรณีที่มีเครื่องหมายอัญประกาศอยู่แล้ว หรือเป็นข้อความที่ซ้อนข้อความ – ควรเว้นวรรค 1 ครั้ง ก่อนเปิดเครื่องหมายดและเว้นวรรค 1 ครั้ง หลังปิดเครื่องหมาย ข้อความภายในเครื่องหมาย ควรติดกับเครื่องหมายเปิด และเครื่องหมายปิด เช่น “ ฉันได้ยินเขาร้องว่า ‘ ช่วยด้วย ' หลายครั้ง ”
  • ยัตติภังค์ หรือเครื่องหมายขีด (-)
    • ใช้แยกคำให้ห่างกัน แต่แสดงถึงความเป็นคำเดียวกัน หรือเนื้อหาเดียวกัน – ควรเว้นวรรคหน้าและหลัง เช่น 12.00 – 14.00 น.
  • ไม้ยมก (ๆ)
    • ใช้เขียนแทนคำซ้ำ – ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายไม้ยมก เว้นวรรค 1 ครั้ง เช่น เมื่อจบการแข่งขัน ต่างก็ร้องว่าม้าดำชนะๆ เสียงกระหึ่มมาก
  • จุลภาคหรือจุดลูกน้ำ ( ,)
    • ใช้คั่นคำ ข้อความ บอกเว้นวรรคตอนในประโยคเดียวกัน – ติดกับข้อความข้างหน้า และเว้นวรรค 1 ช่องหลังเครื่องหมาย เช่น เทคนิคการพิมพ์งาน, การจัดหน้ากระดาษ, การใช้วรรคตอน และอื่นๆ เป็นหัวข้อที่ควรศึกษา
  • ใช้กับจำนวนเลข เพื่อคั่นหลักทีละ 3 หลัก – ติดกับตัวเลขหน้า และไม่ต้องเว้นวรรคหลังเครื่องหมาย เช่น 10,000 200,000 15,000,000
  • อัฒภาคหรือจุดครึ่ง ( ;)
    • ใช้แยกประโยคเปรียบเทียบ คั่นระหว่างประโยคเพื่อแสดงความต่อเนื่องของประโยค แบ่งคำข้อความ หรือกลุ่มตัวเลขที่มีเครื่องหมายจุลภาคออกเป็นส่วนเป็นตอนให้เห็นชัดเจนขึ้น หรือใช้คั่นคำในรายการที่มีจำนวนมากๆ เพื่อแยกเป็นกลุ่มๆ – ติดกับข้อความข้างหน้า และเว้นวรรค 1 ช่องหลังเครื่องหมาย เช่น กรมวิชาการ, กรมอาชีวศึกษา ในกระทรวงศึกษาธิการ ; กรมวิชาการเกษตร ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ทวิภาค หรือจุดคู่ (:)
    • ใช้บอกความหมายแทนคำ – ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายควรเว้นวรรค 1 ครั้ง เช่น กฤษณา : กฤษณาสอนน้อง แบบเรียนกวีนิพนธ์
  • ใช้แสดงมาตราส่วน อัตราส่วน สัดส่วน – ควรอยู่ติดกับข้อความ ไม่ต้องเว้นวรรคหลังเครื่องหมาย เช่นมาตราส่วน 1:1000, อัตราส่วน 1:2
  • ไปยาลน้อย (ฯ)
    • ใช้ละคำที่รู้จักกันดีแล้ว หรือคำยาว – อยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายเว้นวรรค เช่น โปรดเกล้าฯ อ่านว่า โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ยกเว้น พณฯ ไม่ต้องเว้นวรรคหลังเครื่องหมายตัวแรก
  • ไปยาลใหญ่ ( ฯลฯ)
    • ใช้ละคำ หรือข้อความส่วนใหญ่ที่นำมาอธิบายร่วมกัน – เว้นวรรคหน้าและหลัง การใช้งาน เช่น ในน้ำมีปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ฯลฯ และในส่วนก็มีทุเรียน มังคุด ฯลฯ
  • มหัพภาค หรือจุด (.)
    • ใช้บอกการจบประโยค หรือจบความ กำกับหัวข้อ กำกับอักษรย่อ – อยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายเว้นวรรค เช่น
    • ข้อ 1. ภาษาไทยคือภาษาที่มีลักษณะอย่างไร
  • วิสัชภาค (:-)
    • ใช้กำกับหลังคำ “ ดังนี้ ” , “ ดังต่อไปนี้ ” โดยรายการที่ต่อท้ายให้ขึ้นบรรทัดใหม่ – ให้พิมพ์ติดต่อกับข้อความข้างหน้า เช่น คณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานดังต่อไปนี้ :-
      • กรมวิชาการ
      • กรมสามัญศึกษา
      • กรมอาชีวศึกษา