NECTEC
NSTDA
Home
Computer
Program
Internet & Web
Graphics
CAI
Multimedia
Electrical Power
General Education
Special Education
Links
Webmaster

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย


เหรียญรัตนาภรณ์
The Royal Cypher Medal

                  เหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทาน เป็นบำเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์

                  เหรียญรัตนาภรณ์ เป็นเหรียญส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์ สำหรับพระราชทาน เป็นเครื่องหมาย ในพระมหากรุณา แล้วแต่จะทรงมีพระราชดำริเห็นสมควร ซึ่งมีประวัติการสถาปนา ดังต่อไปนี้

                  เหรียญรัตนาภรณ์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ.๒๔๑๒ เดิมเรียกว่า "รจนาภรณ์" สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์ และในการช่าง ชั้นที่ ๒ รองจากตราภัทราภรณ์ ครั้นตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์เมื่อปีระกา จุลศักราช ๑๒๓๕ พ.ศ.๒๔๑๖ จึงเปลี่ยนนามเป็นรัตนาภรณ์ สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในพระองค์ และในการช่างเป็นชั้นที่ ๑ เหรียญบุษปมาลา เป็นชั้นที่ ๒

                  ครั้นเมื่อ ร.ศ.๑๒๐ พ.ศ.๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรารภถึง เจ้านาย และ ข้าราชการ ซึ่งตามเสด็จประพาสเกาะชวาในครั้งหลังไป ต้องลำบากกรากกรำ เมื่อช่วยกันรักษาพยาบาลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา ซึ่งไปประชวรหนักอยู่เกือบเดือน จึงโปรดเกล้าฯ ให้คิดแบบอย่างสร้างเหรียญรัตนาภรณ์ขึ้นใหม่ และให้มีเป็น ๕ ขั้น เพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบ แก่ผู้ซึ่งได้โดยเสด็จในครั้งนั้น ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน และพระราชทานแก่ผู้อื่นเป็นบำเหน็จความชอบอย่างอื่นต่อมา ครั้นต่อมาทรงสถาปนา เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่๔ ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ครั้นมาถึงในรัชกาลที่๖ รัชกาลที่๗ และรัชการปัจจุบัน ก็ได้ทรงสถาปนาเหรียญรัตนาภรณ์ขึ้นทุกรัชกาล

                  เหรียญรัตนาภรณ์ประจำแต่ละรัชกาลมีดังนี้
                  เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔      ใช้อักษรย่อว่า ม.ป.ร.
                  เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๕     ใช้อักษรย่อว่า จ.ป.ร.
                  เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖     ใช้อักษรย่อว่า ว.ป.ร.
                  เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๗     ใช้อักษรย่อว่า ป.ป.ร.
                  เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘     ใช้อักษรย่อว่า อ.ป.ร.
                  เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙     ใช้อักษรย่อว่า ภ.ป.ร.

                  การพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์นั้น เป็นการพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย

เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔
King Mongkut's Royal Cypher Medal (Rama IV)

                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๔ ขึ้น เนื่องในวันครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีมะโรง ร.ศ.๑๒๓ ตามสุริยคติ ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๔๔๗ สำหรับพระราชทาน พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ ผู้เคยรับราชการในรัชกาลที่๔ หรือผู้ที่ได้เป็นสมาชิกของ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตน์ราชวราภรณ์

                  เหรียญมีอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ "ม.ป.ร." อยู่ในวงพวงมาลาเป็นรูปวงกลม ห้อยกับแพรแถบสีเหลือง มีขอบสีแดงที่ขอบ กว้าง 3 เซนติเมตร มี 5 ชั้น

ชั้นที่ ๑ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ม.ป.ร." ประดับเพชรล้วน ้อักษรย่อ ม.ป.ร.๑
ชั้นที่๒ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ม.ป.ร." ลงยาราชาวดีสีแดง ขอบพวงมาลาประดับเพชร อักษรย่อ ม.ป.ร.๒
ชั้นที่๓ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ม.ป.ร." ลงยาราชาวดีสีแดง ขอบเป็นทองคำ อักษรย่อ ม.ป.ร.๓
ชั้นที่๔ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ม.ป.ร." ทำด้วยทองคำล้วน อักษรย่อ ม.ป.ร.๔
ชั้นที่๕ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ม.ป.ร." ทำด้วยเงินล้วน อักษรย่อ ม.ป.ร.๕

สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า(บุรุษ) ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

สำหรับพระราชทานฝ่ายใน(สตรี) เหรียญห้อยกับแพรแถบ ผูกเป็นรูปแมลงปอ ใช้ประดับที่เสื้อหน้าบ่าซ้าย

ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

เหรียญนัตนาภรณ์
รัชกาลที่ ๔
เหรียญรัตนาภรณ์
รัชกาลที่ ๕ ฝ่ายใน
เหรียญรัตนาภรณ์
รัชกาลที่ ๕ ฝ่ายหน้า
เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๕
King Chulalongkorn's Royal Cypher Medal (Rama V)

                  โปรดเกล้าฯให้สร้างเหรียญรัตนาภรณ์ขึ้น นับเป็นเหรียญรัตนาภรณ์ประจำรัชกาล ที่พระองค์สถาปนาขึ้นเป็นครั้งแรก มี ๕ ชั้น สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ซึ่งได้ตามเสด็จประพาสชวา และช่วยกันถวายการรักษาพยาบาล สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา ซึ่งประชวรหนักอยู่เป็นเวลานาน และต่อมาก็ได้พระราชทานเหรียญนี้สำหรับเป็นควมชอบในกรณีต่างๆ แก่บุคคลอื่นๆด้วย

                  เหรียญมีอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ "จ.ป.ร." อยู่ในวงมาลาเป็นรูปวงรี ห้อยกับแพรเป็นริ้วสีขาวอยู่ในระหว่างกลางริ้ว สีแดง ๒ ข้าง กว้าง ๓.๕ เซนติเมตร

ชั้นที่ ๑ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"จ.ป.ร." ประดับเพชรล้วน ้อักษรย่อ จ.ป.ร.๑
ชั้นที่๒ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"จ.ป.ร." ลงยาราชาวดีสีแดง ขอบพวงมาลาประดับเพชร อักษรย่อ จ.ป.ร.๒
ชั้นที่๓ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"จ.ป.ร." ลงยาราชาวดีสีแดง ขอบเป็นทองคำ อักษรย่อ จ.ป.ร.๓
ชั้นที่๔ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"จ.ป.ร." ทำด้วยทองคำล้วน อักษรย่อ จ.ป.ร.๔
ชั้นที่๕ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"จ.ป.ร." ทำด้วยเงินล้วน อักษรย่อ จ.ป.ร.๕

สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า(บุรุษ) ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

สำหรับพระราชทานฝ่ายใน(สตรี) เหรียญห้อยกับแพรแถบ ผูกเป็นรูปแมลงปอ ใช้ประดับที่เสื้อหน้าบ่าซ้าย

ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

เหรียญรัตนาภรณ์
รัชกาลที่ ๖ ฝ่ายหน้า
เหรียญรัตนาภรณ์
รัชกาลที่ ๖ ฝ่ายใน
เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖
King Vajiravudh's Royal Cypher Medal (Rama VI)

                  โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญรัตนาภรณ์ประจำรัชกาลของพระองค์ขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓

                  เหรียญมีอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ "ว.ป.ร." อยู่ในวงมาลาเป็นรูปวงรี ห้อยกับแพรแถบสีเหลือง มีริ้วสีดำทั้ง ๒ ข้าง กว้าง ๓ เซนติเมตร

ชั้นที่ ๑ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ว.ป.ร." ประดับเพชรล้วน ้อักษรย่อ ว.ป.ร.๑
ชั้นที่ ๒ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ว.ป.ร." ลงยาราชาวดีสีดำ ขอบประดับเพชร อักษรย่อ ว.ป.ร.๒
ชั้นที่ ๓ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ว.ป.ร." ลงยาราชาวดีสีดำ ขอบลงยาราชวดีสีแดง อักษรย่อ ว.ป.ร.๓
ชั้นที่ ๔ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ว.ป.ร." เป็นทองคำ ขอบลงยาราชวดีสีแดง อักษรย่อ ว.ป.ร.๔
ชั้นที่ ๕ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ว.ป.ร." เป็นทองคำ ขอบสร่งเงิน อักษรย่อ ว.ป.ร.๕

สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า(บุรุษ) ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

สำหรับพระราชทานฝ่ายใน(สตรี) เหรียญห้อยกับแพรแถบ ผูกเป็นรูปแมลงปอ ใช้ประดับที่เสื้อหน้าบ่าซ้าย

ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๗
King Prajadhipok's Royal Cypher Medal (Rama VII)

                พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญรัตนาภรณ์ประจำรัชกาลของพระองค์ขึ้น โดยได้ตรา "พระราชบัญญัติเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๗ พุทธศักราช ๒๔๖๙"               

                  เหรียญมีอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ "ป.ป.ร." อยู่ในขอบวงรี สร่งหยิกแยงสี่แง่ ห้อยกับแพรแถบสีเหลือง มีริ้วสีเขียวสองข้าง กว้าง ๒.๓ เซนติเมตร

ชั้นที่ ๑ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ป.ป.ร." ประดับเพชรล้วน ้อักษรย่อ ป.ป.ร.๑
ชั้นที่ ๒ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ป.ป.ร." ลงยาราชาวดีสีเขียว ขอบพวงมาลาประดับเพชร อักษรย่อ ป.ป.ร.๒
ชั้นที่ ๓ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ป.ป.ร." ลงยาราชาวดีสีเขียว ขอบเป็นทองคำ อักษรย่อ ป.ป.ร.๓
ชั้นที่ ๔ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ป.ป.ร." เป็นทองคำ ขอบสร่งเงิน อักษรย่อ ป.ป.ร.๔
ชั้นที่ ๕ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ป.ป.ร." ทำด้วยเงินล้วน อักษรย่อ ป.ป.ร.๕

สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า(บุรุษ) ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

สำหรับพระราชทานฝ่ายใน(สตรี) เหรียญห้อยกับแพรแถบ ผูกเป็นรูปแมลงปอ ใช้ประดับที่เสื้อหน้าบ่าซ้าย

ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

ป.ป.ร. ๓
ป.ป.ร. ๔
ป.ป.ร. ๔
อ.ป.ร. ๒
อ.ป.ร. ๓
เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๘
King Ananda Mahidol's Royal Cypher Medal (Rama VIII)

                พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรอานันทมหิดลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญรัตนาภรณ์ประจำรัชกาลของพระองค์ขึ้น โดยได้ตรา"พระราชบัญญัติเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘ พุทธศักราช ๒๔๘๐"   

                  เหรียญมีอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ "อ.ป.ร." อยู่ในขอบวงกลม มีรัศมี และมีห่วงสำหรับร้อยแพรแถบข้างบน ทำด้วยทองคำ จนถึงชั้นที่ ๓ ส่วนชั้นที่ ๔ และชั้นที่๕ ห่วงทำด้วยเงินกาไหล่ทอง ห้อยกับแพรแถบสีเหลือง มีริ้วสีแดงสองข้าง กว้าง ๒.๓ เซนติเมตร

ชั้นที่ ๑ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"อ.ป.ร." เรือนเงินประดับเพชรทั้งดวง ้อักษรย่อ อ.ป.ร.๑
ชั้นที่๒ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"อ.ป.ร." ทองคำ ลงยาราชวดีสีแดง ขอบเรือนเงิน ประดับเพชร อักษรย่อ อ.ป.ร.๒
ชั้นที่๓ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"อ.ป.ร." ทองคำ ลงยาราชวดีสีแดง ขอบเพชร สร่งเงิน
อักษรย่อ อ.ป.ร.๓
ชั้นที่๔ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"อ.ป.ร." ทองคำ ขอบเพชรสร่งเงิน อักษรย่อ อ.ป.ร.๔
ชั้นที่๕ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"อ.ป.ร." เงิน ขอบเพชรสร่งเงิน อักษรย่อ อ.ป.ร.๕

สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า(บุรุษ) ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

สำหรับพระราชทานฝ่ายใน(สตรี) เหรียญห้อยกับแพรแถบ ผูกเป็นรูปแมลงปอ ใช้ประดับที่เสื้อหน้าบ่าซ้าย

ปัจจุบันเป็นเหรียญที่พ้นสมัยพระราชทาน

เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๙
King Bhumibol Adulyadej's Royal Cypher Medal (Rama IX)

                พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญรัตนาภรณ์ประจำรัชกาลของพระองค์ขึ้น สำหรับพระราชทานเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาส่วนพระองค์ และได้ตรา"พระราชบัญญัติเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙ พุทธศักราช ๒๔๙๕" ขึ้น  

                  เหรียญมีอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ "ภ.ป.ร." อยู่ในขอบวงกลม มีรัศมี และมีห่วงทำด้วยทองคำ สำหรับห้อยกับแพรแถบกว้าง ๒๓ มิลลิเมตร พื้นสีเหลือง มีริ้วสีขาว ๒ข้าง

ชั้นที่ ๑ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ภ.ป.ร." ประดับเพชรทั้งดวง ้อักษรย่อ ภ.ป.ร.๑
ชั้นที่๒ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ภ.ป.ร." ลงยาราชวดีสีขาว ขอบประดับเพชร อักษรย่อ ภ.ป.ร.๒
ชั้นที่๓ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ภ.ป.ร." ลงยาราชวดีสีขาว ขอบเพชร สร่งทองคำ อักษรย่อ ภ.ป.ร.๓
ชั้นที่๔

อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ภ.ป.ร."

ทำด้วยทองคำ ขอบสร่งเงิน อักษรย่อ ภ.ป.ร.๔
ชั้นที่๕ อักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ"ภ.ป.ร." ทำด้วยเงิน อักษรย่อ ภ.ป.ร.๕

สำหรับพระราชทานฝ่ายหน้า(บุรุษ) ใช้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

สำหรับพระราชทานฝ่ายใน(สตรี) เหรียญห้อยกับแพรแถบ ผูกเป็นรูปแมลงปอ ใช้ประดับที่เสื้อหน้าบ่าซ้าย

ภ.ป.ร. ๑
ภ.ป.ร. ๒
ภ.ป.ร. ๓
ภ.ป.ร. ๔
ภ.ป.ร. ๕
ภ.ป.ร. ๕ ฝ่ายใน

 

การพระราชทาน และการเรียกคืน/ส่งคืน

๑. เหรียญนี้พระราชทานเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาส่วนพระองค์ จะพระราชทานแก่ผู้ใดแล้วแต่จะทรงพระราชดำริเห็นสมควร
๒. พระราชทานเป็นสิทธิ แม้ผู้ได้รับพระราชทานล่วงลับไปแล้ว ก็ให้ตกทอดแก่ทายาท เพื่อรักษาไว้เป็นที่ระลึกในวงศ์ตระกูลสืบไป หากว่าทายาทปรารถนาจะเชิดชูเกียรติคุณ จะใช้แต่ดวงเหรียญร้อยสร้อยสวมคอ ก็พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ใช้ได้ แต่จะร้อยแพรแถบเอาไปใช้ประดับไม่ได้
๓. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญนี้ จะเขียนอักษรย่อไว้ท้ายชื่อ ก็ให้เขียนดังนี้

ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชั้นที่๑ ให้เขียนว่า ภ.ป.ร. ๑
ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชั้นที่๒ ให้เขียนว่า ภ.ป.ร. ๒
ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชั้นที่๓ ให้เขียนว่า ภ.ป.ร. ๓
ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชั้นที่๔ ให้เขียนว่า ภ.ป.ร. ๔
ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชั้นที่๕ ให้เขียนว่า ภ.ป.ร. ๕
๔. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญนี้ ให้มีประกาศนียบัตร ทรงลงพระปรมาภิไธย และประทับพระราชลัญจกรประจำพระองค์ เป็นสำคัญ
๕. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญดวงใหม่เลื่อนเป็นชั้นสูงขึ้นไป ต้องส่งเหรียญดวงเดิมคืน โดยส่งคืนที่สำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมมหาราชวัง