ผงซักฟอกกับสิ่งแวดล้อม
พวกเราเคยคิดบ้างไหมว่า การใช้ผงซักฟอกซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในชีวิตประจำวันของทุกครนอบครัว จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
เมื่อสารละลายผงซักฟอกไหลตามท่อน้ำทิ้งไปสู่แม่น้ำลำคลอง จะพาเอาเกลือฟอสเฟตซึ่งเป็นธาตุอาหารที่สำคัญของต้นไม้ได้ละลายปนมาด้วย และจะเป็นปุ๋ยอย่างดีของพืชน้ำ เช่นสาหร่าย ผักตบชวา จอกและแหน ทำให้พืชน้ำเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว กีดขวางการสัญจรของน้ำ ทำให้คูคลองตื้นเขิน ก่อความเดือดร้อนแก่การชลประทาน การเกษตรและการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ นอกจากนี้ฟองที่เกิดจากการใช้ผงซักฟอกยังไปกั้นไม่ให้อากาศสัมผัสกับน้ำ ทำให้ปริมาณของออกซิเจนในน้ำน้อยลง สัตว์น้ำจะตายเพราะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต แหล่งน้ำที่ผิวน้ำปกคลุมหนาแน่นด้วยฟอง แสงอาทิตย์จะไม่สามารถส่องผ่านลงไปได้ ทำให้พืชน้ำชั้นล่างตาย เพราะไม่สามารถสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ เป็นเหตุให้ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อในน้ำไม่มีออกซิเจน สิ่งมีชีวิตต่างๆในน้ำจะตายรวมทั้งจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายอินทรีย์ และผลจากการย่อยสลายเหล่านี้ทำให้ได้แก๊สที่มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า ซึ่งปฏิกิริยากับสารเคมีในน้ำทำให้น้ำมีสีดำ กระบวนการเหล่านี้ทำให้เกิดภาวะน้ำเสียและมีกลิ่นเหม็น
ตาราง ผลการวิเคราะห์ตรวจสอบผงซักฟอกชนิดซักฟอกด้วยมือบางชนิด
ผงซักฟอกหมายเลข |
ความเป็นกรด-เบส
PH |
*สารละลายได้ในคลอโรฟอร์ม
ร้อยละ |
ฟอสเฟส
ร้อยละ |
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10 |
9.2
9.4
10.4
9.6
9.7
9.5
9.7
9.5
9.5
9.2 |
11.0
17.0
17.8
30.0
25.0
24.0
25.0
27.0
26.0
19.9 |
13.0
13.0
11.0
15.0
14.0
16.0
15.0
17.0
14.0
28.4 |
เกณฑ์มาตรฐานผงซักฟอก มอก. 78-2528 |
ไม่เกิน
11.0 |
ไม่น้อยกว่า
18.0 |
ไม่เกิน
22.0 |
* สารที่ละลายได้ในคลอโรฟอร์ม ประกอบด้วยสารลดแรงตึงผิวเป็นส่วนใหญ่
ที่มา วารสารวิทยาศาสตร์ ปีที่ 37 ฉบับที่ 12 , 2526
|