Thailand The big Picture
Picture of NECTEC's logo
Picture of Thailand the Big Picture's logo เนคเทค
Picture of UK flag Picture of USA flag English/ Picture of Thai flag ไทย ทั่วโลก

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาภูเก็ต (The Greater Phuket Digital Paradise Project: PhD)
รัฐบาล (สมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี) ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต เป็นเมืองนานาชาติ และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดตั้งคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ ซึ่งสาระสำคัญของแผนปฏิบัติการภูเก็ต เมืองนานาชาติ (พ.ศ. 2542-2554) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาภูเก็ตไว้ 5 ยุทธศาสตร์ด้วยกันได้แก่ (1) การพัฒนาพื้นที่ควบคู่กับ การรักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ (2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพและบริการที่ได้ มาตรฐาน (3) การพัฒนาคนและสังคม (4) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (5) การบริหารจัดการ ภูเก็ตเมืองนานาชาติ การจัดทำแผนปฏิบัติการในยุทธศาสตร์ที่ 4 เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน จากการดำเนินงานที่ผ่านมาในระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติในยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้มี ส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดทำแผน พร้อมทั้งได้จัดทำโครงการนำร่องการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อพัฒนาจังหวัดภูเก็ตควบคู่กันไปด้วย ทั้งยังช่วยสร้างความเข้าใจและเตรียมความพร้อมด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับท้องถิ่น ที่ผ่านมาได้ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุน การบริหารของหน่วยงานของรัฐ (Management Information System: MIS) การพัฒนาระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) การพัฒนาบุคลากรด้านไอที การพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐ (Government Information Network: GINet) และการพัฒนา เครือข่ายโรงเรียนไทย (School Net) โดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในจังหวัด ซึ่งต่อมาได้มีความเห็นชอบร่วมกันที่จะขยายขอบเขตการพิจารณาให้ครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ กระบี่ พังงา ตรัง และสตูล
วัตถุประสงค์
เป็นการดำเนินการศึกษาความเหมาะสมขั้นต้น (Pre-feasibility Study) ภายใต้โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ
  • เพื่อดำเนินการศึกษาขั้นต้นเกี่ยวกับโอกาส ความเหมาะสม แนวทางการพัฒนา และความเป็นไปได้ในการพัฒนาและการลงทุนทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนระดับท้องถิ่น (Local Investment)
  • เพื่อกำหนดแนวทางในการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและการลงทุนด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจ ที่ครบวงจร ทั้งการบริการจัดการ การพัฒนา และการบริการ
  • เพื่อให้สามารถ และมีความร่วมมือกำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในระยะสั้น หรือโครงการนำร่อง และการกำหนดกิจกรรมและพื้นที่ โครงการ เพื่อการศึกษาความเป็นไปได้โอกาส และความเหมาะสมใน ระยะยาวต่อไป
ขอบเขตการศึกษา
  • ศึกษานโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง
  • ศึกษานโยบาย แนวทาง และเป้าหมายการพัฒนาระดับพื้นที่
  • ศึกษาการพัฒนาและการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศของต่างประเทศ
  • ศึกษาสถานภาพการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบัน
  • ศึกษาสถานภาพและแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ด้านโทรศึกษาสภาวะการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม
  • ศึกษาแนวทางการพัฒนาและการลงทุนทางธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ศึกษาปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม
  • ศึกษาโครงการและกิจกรรมที่มีความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจและอุตสาหกรรม

Untitled Document
NSTDA  ||  NECTEC ||  BIOTEC  ||  MTEC ||  NITC ||  SOFTWARE PARK ||  GITS ||  ECRC ||  BID ||  SCHOOLNET ||  BCP  ||  RDD

สงวนลิขสิทธิ์โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทร 02-564-6900 ต่อ 2346-55
E-mail : หรือ
แผนที่