Thailand The big Picture
Picture of NECTEC's logo
Picture of Thailand the Big Picture's logo เนคเทค
Picture of UK flag Picture of USA flag English/ Picture of Thai flag ไทย ทั่วโลก

ระบบรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GPRS


ใน
การตรวจวัดค่าต่างๆ ที่สนใจในพื้นที่จริงนั้น ระบบตรวจวัดสามารถเก็บข้อมูลและส่งกลับมายังศูนย์คอมพิวเตอร์ เพื่อประมวลผลข้อมูลมีรูปแบบการส่งข้อมูลหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระบบที่รองรับและความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ซึ่งในการใช้งานจริงมักพบว่าพื้นที่ที่ตรวจวัดมักอยู่ไกลจากระบบสื่อสารที่มีใช้ทั่วไป เช่น โทรศัพท์ ดังนั้นจึงมักใช้วิธีอื่นๆ เช่นคลื่นวิทยุ แต่พบว่ามีราคาสูงและจำกัดเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุ ดังนั้นจึงได้มีการนำเอาระบบสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่มาประยุกต์ใช้งาน ซึ่งปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีใหม่ในการรับส่งข้อมูลเข้าเครือข่ายอินเทอร์เนทผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GPRS ซึ่งทางศูนย์เทคโนโลยีฯ ได้ติดตั้งระบบนี้เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำจากสถานีตรวจวัดในลุ่มน้ำป่าสัก จ.ลพบุรี เข้าศูนย์คอมพิวเตอร์ที่กรุงเทพฯ


อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล
โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ GPRS

การทำงานของโปรแกรมจัดการข้อมูล

การแสดงผลข้อมูลที่ได้จากการเชื่อมโยง
ข้อมูลผ่าน GPRS ชนิดอัตโนมัติ

 

ลักษณะเด่น
เพื่อพัฒนาเป็นระบบรับส่งข้อมูลอัตโนมัติราคาถูก ใช้ในพื้นที่ทางห่างไกลที่ไม่มีรูปแบบการเชื่อมโยงอื่นๆ และสะดวก ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ทันที

วิธีการทำงาน
ระบบที่พัฒนาขึ้นเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ที่ตรวจวัดและจัดเก็บข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งรูปแบบเครือข่ายภายในเฉพาะที่ ( LAN ) หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนท เพื่อนำข้อมูลที่ต้องการและส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GPRS เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เนท

ตัวอย่างการใช้งานจริง
โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าว สามารถติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล พัฒนาโปรแกรมด้วย Visual Basic บนระบบปฎิบัติการ Windows เข้าถึงข้อมูลผ่าน MS Network และติดตั้งกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อ Siemen รุ่น S45 ของเครือข่าย GSM AIS ต่อผ่านช่องทางอนุกรม (Serial port com1) ส่วนระบบคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่กรุงเทพฯ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักที่ทำงานด้วยระบบปฎิบัติการ Linux เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เนท ข้อมูลที่ได้นำมาตรวจสอบและจัดเก็บลงฐานข้อมูลเพื่อเรียกแสดงผ่านผ่าน WWW โดยอัตโนมัติรายชั่วโมง โดยตั้งเวลาของโปรแกรมให้ทำงานในการจัดการข้อมูลทั้งต้นทางและปลายทางให้ตรงกัน
จากการทดสอบการทำงานโดยเชื่อมโยงเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บข้อมูลของศูนย์ควบคุม ณ เขื่อนป่าสัก ลพบุรี โดยให้ส่งข้อมูลปริมาณน้ำ และปริมาณน้ำฝนที่ระบบตรวจวัดได้จาก 11 สถานี เป็นรายชั่วโมง โดยส่งมายังศูนย์คอมพิวเตอร์หลักที่กรุงเทพฯ ข้อมูลที่ได้จะนำเข้าระบบฐานข้อมูลและแสดงผลผ่าน WWW โดยอัตโนมัติ

การนำไปใช้

1. เพื่อพัฒนาระบบรับส่งข้อมูลในพื้นที่ที่เครือข่ายการสื่อสารปกติเข้าไม่ถึง เช่นพื้นที่ที่ห่างไกล ที่ทุรกันดาร
2. เพื่อทดแทนระบบการรับส่งข้อมูลเดิมที่มีราคาแพงและรับส่งข้อมูลปริมาณไม่มากแต่บ่อยครั้ง หรือต้องการการเชื่อมต่อเครือข่ายตลอดเวลา เนื่องจากระบบ GPRS คิดค่าใช้บริการตามปริมาณข้อมูลที่รับส่ง
3. เพื่อประยุกต์ใช้ในงานในลักษณะอื่นๆ เช่น การรายงานผลนอกสถานที่ การติดตามการเคลื่อนที่ของบุคคล เป็นต้น

เกร็ดความรู้

คุณสมบัติของGPRS
GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Services ซึ่งเป็นบริการเสริมแบบใหม่ที่รองรับการรับส่งข้อมูลข่าวสาร บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GPRS สามารถรองรับการให้บริการที่เพิ่มมากขึ้นกว่าระบบ CSD และ SMS เดิมได้

ความเร็วในการส่งข้อมูล
ตามทฤษฏีแล้ว GPRS สามารถให้บริการที่ความเร็วสูงสุดถึง 171.2 kbps โดยต้องอาศัยการใช้ช่วงเวลา (timeslot) ทั้งแปดช่วงของทั้งหมดที่มี ซึ่งนั้นหมายถึงความเร็วสูงสุดที่สูงขึ้นถึงสามเท่าของการส่งข้อมูลผ่านสาย บนเครือข่ายโทรศัพท์ปัจจุบัน และสูงขึ้นมากกว่าการเชื่อมต่อแบบ CSD ในเครือข่าย GSM ถึงสิบเท่า


การสนองตอบที่รวดเร็ว
GPRS ทำให้การเชื่อมต่อมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ข้อมูลข่าวสารสามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างทันทีทั้งการรับและ การส่งด้วยการตัดความยุ่งยากในการขั้นตอนตั้งค่าต่างๆ ของโมเด็ม นั้นคือเหตุผลที่ผู้ใช้กล่าวกันว่า GPRS เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา (always connected) การสนองตอบได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการของผู้ใช้คืออีกหนึ่งคุณสมบัติที่เหนือกว่าการเชื่อมต่อแบบ CSD ในการใช้งานบางประเภทที่ต้องการการสนองตอบที่รวดเร็ว

รูปแบบใหม่ในการใช้งานที่ดีขึ้น
GPRS ยังรองรับการให้บริการในรูปแบบใหม่ที่ไม่สามารถให้บริการได้บนเครือข่าย GSM เดิมเพราะข้อจำกัดด้านความเร็วในการรับส่งข้อมูลในแบบ CSD (9.6 kbps) และข้อจำกัดของขนาดของข้อมูลที่สามารถรับส่งได้ในแบบ SMS (160 ตัวอักษร) GPRS ทำให้สามารถให้บริการในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนบนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อาทิเช่นการเข้าถึง WWW อย่างแท้จริง การรับส่งแฟ้มข้อมูล รวมไปถึงการควบคุมและตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน


ปัจจัยในการใช้บริการ GPRS
ในการใช้งาน GPRS ผู้ใช้จำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • ต้องเป็นผู้ใช้บริการในเครือข่ายที่รองรับระบบ GPRS
  • เครื่องโทรศัพท์มือถือจะต้องรองรับระบบ GPRS ด้วย
  • จะต้องมีการตั้งค่าต่างๆ ในโทรศัพท์มือถือสำหรับการเชื่อมต่อ GPRS

ทฤษฎีของ GPRS
GPRS คือวิวัฒนาการของการสื่อสารข้อมูลไร้สายแบบ packet switching เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการสื่อสารข้อมูลแบบ CSD ของเครือข่าย GSM เดิมทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกใหม่ในการสื่อสารในรูปแบบ packet-based การขยายขีดความสามารถของเครือข่ายแบบ CSD เดิมให้เพิ่มความสามารถในการให้บริการแบบ packet switching ข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย GPRS จะถูกตัดแบ่งเป็น packet ย่อยๆ ก่อน ในแต่ละ packet จะมีข้อมูลระบุถึงที่มาที่สัมพันธ์กันเพื่อใช้ในการประกอบ กลับขึ้นมาเป็นข้อมูลเดิมอีกครั้ง เปรียบได้กับเกม jigsaw ที่รูปภาพถูกตัดออกเป็นชิ้นเล็กๆ จากโรงงานแล้วบรรจุใส่ถุงขายให้ลูกค้า โดยในระหว่างทางขนส่งให้กับลูกค้านั้น ภาพชิ้นเล็กแต่ละชิ้นก็จะถูกคลุกคละกันไป เมื่อเรานำมันมาต่อเข้าด้วยกันก็ใช้วิธีดูจากความสัมพันธ์ของแต่ละชิ้น ซึ่งอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไป ใน internet เองก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเครือข่ายข้อมูลแบบ packet ซึ่งถือเป็นรูปแบบที่นิยมสูงสุดในปัจจุบัน

From http://www.mobilelife.co.th/mLIFE/t/technology.html

Untitled Document
NSTDA  ||  NECTEC ||  BIOTEC  ||  MTEC ||  NITC ||  SOFTWARE PARK ||  GITS ||  ECRC ||  BID ||  SCHOOLNET ||  BCP  ||  RDD

สงวนลิขสิทธิ์โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
112 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทร 02-564-6900 ต่อ 2346-55
E-mail : หรือ
แผนที่