โครงการไทยชิป
Thai Chip Service
|
|
ความเป็นมา
หลักการ และเหตุผล
โครงการไทยชิป
เป็นบริการจัดส่งวงจรรวมของไทยไปสร้างเป็นชิปต้นแบบ (เจือสาร) ในต่างประเทศ
เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการออกแบบวงจรรวมในประเทศไทย โดยการสนับสนุนด้านการเงินจากรัฐบาลผ่านศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติที่ผ่านมา
โครงการไทยชิปได้ให้บริการแก่นักออกแบบหลายรายจากมหาวิทยาลัย และ
บริษัทเอกชน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
|
|
|
|
วงจร
ThaiTum 1 (พ.ศ. 2541) บริษัท MTT จำกัด
- เทคโนโลยี
0.5
- พื้นที่
16
- บริการทำต้นแบบ
Europractice
|
|
|
|
|
|
วงจร
MEL 805x (พ.ศ.2543) งานวิจัยออกแบบวงจรรวม เนคเทค
- เทคโนโลยี
0.5
- พื้นที่
16
- บริการทำต้นแบบ
Europractice
|
|
|
|
|
|
วงจร
Switch-Capacitor Filter (2543) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
- เทคโนโลยี
0.7
- พื้นที่
5
- บริการทำต้นแบบ
Europractice
|
|
|
|
|
|
วงจร
RFID Tag (พ.ศ. 2545) งานวิจัยออกแบบวงจรรวม เนคเทค
-
เทคโนโลยี 0.8
- พื้นที่
4
- บริการทำต้นแบบ
Europractice
|
|
|
|
ล่าสุดในปี
2545 นี้ มีผู้แสดงความประสงค์ขอใช้บริการแล้ว 9 ราย จากสถาบันการศึกษา
3 แห่ง และบริษัทเอกชน 1 แห่ง มีจำนวนต้นแบบที่คาดการณ์ไว้ประมาณ 17-19
ชิ้น โดยใช้เทคโนโลยีขนาดตั้งแต่ 0.7 ไมครอน ลงไปถึง 0.35 ไมครอน |
|
รูปแบบของโครงการ
โครงการไทยชิปจัดส่งวงจรรวมไปเจือสารผ่านบริการเจือสารแบบ
Multi-Project Wafer (MPW) ซึ่งเป็นแบบที่มีการเฉลี่ยต้นทุนคงที่ (NRE)
ในบรรดาผู้ส่งแบบแต่ละราย เหมาะสมกับการทำต้นแบบชิปและการผลิตชิปในปริมาณน้อย
เพราะช่วยให้ผู้ส่งแบบประหยัดค่าใช้จ่าย
|
|
ผู้ส่งแบบสามารถเลือกบริการเจือสารแบบ
MPW จาก CMP, Europractice, หรือ MOSIS ได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่เลือกใช้เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย
โครงการไทยชิปจะเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่นักออกแบบในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากงบประมาณที่ใช้ |
ค่าใช้จ่ายและเงินอุดหนุน
ผู้ส่งแบบจากสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชน
รวมทั้งหน่วยงานวิจัยภาครัฐ จะได้รับทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเจือสารทั้งหมด
ผู้ส่งแบบจากบริษัทเอกชน ที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการออกแบบวงจรรวม
จะได้รับทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเจือสารบางส่วนตามข้อตกลง
ประโยชน์ของโครงการ
โครงการไทยชิปจะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีวงจรรวมของประเทศไทยให้ก้าวหน้า
และกระตุ้นความสนใจการวิจัยด้านการออก- แบบวงจรรวม ในทั้งภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
อันจะเป็นการสร้างฐานความรู้ให้เศรษฐกิจไทยในอนาคต
โครงการไทยชิป
คือช่องทางให้นักออกแบบวงจรรวม
ได้มีโอกาสสร้างผลงานเป็นรูปธรรม
เพื่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีวงจรรวมของไทย
|