NECTEC
NSTDA
Home
Computer
Program
Internet & Web
Graphics
CAI
Multimedia
Electrical Power
General Education
Special Education
Links
Webmaster
การศึกษาพิเศษ - Special Education
ความพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย

ความพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย หมายถึง การที่บุคคลสูญเสียการได้ยินโดยสิ้นเชิง หรือที่เราเรียกว่า หูหนวก และบุคคลที่สามารถได้ยินบ้างแต่ไม่เท่าคนปกติทั่วไป ซึ่งเราเรียกว่า หูตึง และไม่เข้าใจในภาษาพูดจนไม่สามารถสื่อความหมายกับคนอื่นได้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  • เป็นแต่กำเนิด ซึ่งจะทำให้พูดไม่ได้ หรือมีเปอร์เซ็นต์ที่จะพูดได้น้อยมาก
  • เป็นภายหลัง สามารถพูดได้ แต่ไม่ดี

สาเหตุ

  • ขณะตั้งครรภ์
    • กรรมพันธุ์
    • การติดเชื้อของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ เช่น หักเยอรมัน กามโรค คางทูม
    • พิษจากยาหรืออาหารบางประเภทที่มารดาได้รับขณะมีครรภ์
    • โรคขาดธาตุอาหารของมารดาขณะมีครรภ์
    • เลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน
    • อุบัติเหตุของมารดาขณะตั้งครรภ์ เช่น หกล้ม กระทบกระแทกขณะคลอด
  • ความผิดปกติของการคลอด เช่น คลออดยาก คลอดก่อนกำหนด ท่าคลอดของเด็กผิดปกติ
  • หลังคลอด
    • การแพ้พิษยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาควินิน ยาแก้หวัด ฯลฯ
    • การติดเชื้อ เช่น การเป็นหูน้ำหนวก ฯลฯ
    • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในหู เช่น มีเนื้องอกในหู
    • หูได้รับเสียงดังติดต่อกันเวลานาน
    • อุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนบริเวณหูหรือประสาทหู

การป้องกัน

  • หญิงมีครรภ์ควรปฏิบัติดังนี้
    • ฝากครรภ์กับแพทย์และรับการตรวจเป็นระยะ ๆ
    • รักษาสุขภาพ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    • ห้ามซื้อยากิน - ฉีด ใช้เองเป็นอันขาด ต้องรับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
    • หลีกเลี่ยงการฉายแสงเอกซ์เรย์และระวังการใช้ยาปฏิชีวนะ
  • หญิงทุกคนควรฉีดวัคซีนป้องกันหักเยอรมัน เพื่อจะได้ไม่เป็นโรคนี้ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กประสาทหูพิการแต่กำเนิด
  • หญิง - ชาย ควรตรวจเลือดก่อนแต่งงาน
  • พบความผิดปกติในการได้ยินของบุตรหลานหรือตนเอง ควรปรึกษาแพทย์ทันที
  • เด็กแรกเกิดควรได้รับภูมิคุ้มกันตามกำหนด
  • อย่าให้หูได้รับเสียงดังมากเกินไป และเป็นเวลานาน
  • ระวังเด็กจากโรคไวรัสบางชนิด เช่น หัด คางทูม คอตีบ